Page 88 - รวมระเบียบ ข้อบังคับ คำแนะนำ
P. 88
คําแนะนําของประธานศาลฎีกา
แนวทางการใช้บัญชีเกณฑ์มาตรฐานกลางหลักประกันการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
สำหรับศาลอาญา ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลจังหวัด และศาลแขวง
การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือไม่ เป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาโดยแท้ หากผู้พิพากษาเห็นสมควร
ให้ปล่อยชั่วคราวควรถือแนวทางตามบัญชีเกณฑ์มาตรฐานกลางนี้ ซึ่งอาจพิจารณากำหนดวงเงินประกัน
ให้มากหรือน้อยกว่าวงเงินประกันที่กำหนดไว้ตามความเหมาะสมในแต่ละคดี
การพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยควรกำหนดวงเงินประกันโดยเทียบเคียงกับ
ระวางโทษดังต่อไปนี้ เว้นแต่เกณฑ์มาตรฐานกลางกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
คดีระวางโทษตามกฎหมาย วงเงินประกัน/บาท
จำคุกไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐
จำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐
จำคุก ๑๐ - ๑๕ ปี ๒๐๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐
จำคุก ๕ - ๒๐ ปี ๑๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐
จำคุก ๑๐ - ๒๐ ปี ๒๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐
จำคุก ๑๕ - ๒๐ ปี ๓๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐
จำคุก ๕ - ๒๐ ปี จำคุกตลอดชีวิต ๑๐๐,๐๐๐ - ๘๐๐,๐๐๐
จำคุก ๑๕ - ๒๐ ปี จำคุกตลอดชีวิต ๓๐๐,๐๐๐ - ๘๐๐,๐๐๐
จำคุก ๕ - ๒๐ ปี จำคุกตลอดชีวิต ประหารชีวิต ๑๐๐,๐๐๐ - ๑,๐๐๐,๐๐๐
จำคุก ๑๕ - ๒๐ ปี จำคุกตลอดชีวิต ประหารชีวิต ๓๐๐,๐๐๐ - ๑,๐๐๐,๐๐๐
จำคุกตลอดชีวิต ๕๐๐,๐๐๐ - ๘๐๐,๐๐๐
ประหารชีวิต ๕๐๐,๐๐๐ - ๑,๐๐๐,๐๐๐
สำหรับคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๓ ปี การใช้ดุลพินิจกำหนดวงเงินประกัน สมควรกำหนด
โดยคำนวณจากระวางโทษตามกฎหมายจำคุกขั้นสูงไม่เกินปีละ ๒๐,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ
ในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวควรถือเป็นหลักว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยพึงได้รับอนุญาต
ให้ปล่อยชั่วคราว เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยอย่างชัดแจ้ง เช่น โอกาสที่
ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี การแทรกแซงพยานหลักฐานหรือก่อเหตุร้ายประการอื่น ฯลฯ ทั้งนี้ ควรระบุ
เหตุผลไว้โดยครบถ้วนและชัดแจ้ง
การกำหนดวงเงินประกันสำหรับการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ควรพิจารณาข้อหาที่มีอัตราโทษหนักกว่าเป็นเกณฑ์ ส่วนการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
๒