Page 91 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 91
๗๘
ี
ท าผิดเพราะไม่ย าเกรงต่อกฎหมาย ส่วนผู้กระท าความผิดอกคนหนึ่งท าผิดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่นนี้ศาลควร
ลงโทษผู้กระท าความผิดโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายให้หนักกว่าผู้ที่กระท าความผิดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น
๑๒
หลักการนี้เรียกว่า “หลักการใช้โทษให้เหมาะสมกับผู้กระท าความผิดแต่ละคน”
การใช้ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายในคดียาเสพติดของต่างประเทศ
จากการศึกษาถึงการน าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายมาใช้ในกฎหมายยาเสพติดของต่างประเทศพบว่า
บางประเทศมีการน าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายมาใช้โดยก าหนดปริมาณของยาเสพติดที่เป็นเงื่อนไขของ
ื่
ข้อสันนิษฐานว่าเป็นการกระท าเพอจ าหน่ายซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแบบไม่เด็ดขาด แต่บางประเทศไม่มี
การน าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายมาใช้ในการสันนิษฐานว่าเป็นการกระท าเพื่อจ าหน่ายแต่อย่างใด
ประเทศ ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายในคดียาเสพติด
อังกฤษ มีการก าหนดบทสันนิษฐานการครอบครองเพื่อจ าหน่ายโดยการใช้ปริมาณการ
ครอบครองยาเสพติดที่กฎหมายก าหนดไว้มาเป็นเกณฑ์ในการสันนิษฐานว่าจ าเลยมี
ยาเสพติดไว้ในครอบครองเพอจ าหน่ายโดยเป็นบทสันนิษฐานแบบไม่เด็ดขาด
ื่
๑๓
Misuse of Drugs Act ๑๙๗๑
(Section ๕ (๔A))
“ถ้าพิสูจน์ได้ว่าจ าเลยมียาเสพติดไว้ในครอบครองในปริมาณไม่น้อยกว่าที่กฎหมาย
ก าหนดไว้ ศาลหรือคณะลูกขุนจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจ าเลยเป็นผู้มียาเสพติดไว้ใน
ครอบครองเพื่อจ าหน่าย”
(Section ๕ (๔B))
“หากมีหลักฐานอื่นใดที่สามารถบอกได้ว่า มิใช่เป็นผู้ครอบครองเพื่อจ าหน่ายแล้ว มิให้
ใช้บทสันนิษฐานกับผู้ครอบครองนั้น”
ื่
ออสเตรเลีย มีการก าหนดบทสันนิษฐานการน าเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพอจ าหน่ายโดย
การใช้ปริมาณการครอบครองยาเสพติดที่กฎหมายก าหนดไว้มาเป็นเกณฑ์ในการ
สันนิษฐาน โดยเป็นข้อสันนิษฐานแบบไม่เด็ดขาด
๑๒ เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๗๕.
๑๓ Misuse of Drugs Act ๑๙๗๑ ได้ให้ความหมายของยาเสพติดโดยแบ่งประเภทของยาเสพติดเป็น ๓ ประเภท (Class)
คือ Class A, Class B และ Class C ซึ่งการแก้ไขกฎหมายในแต่ละครั้ง จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงประเภทยาเสพติด
ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากโทษของยาเสพติดแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันออกไป