Page 95 - DDD4
P. 95
87
เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าและการคมนาคมมากขึ้นส่วนอัตราความต้องการใช้พลังงาน
นิวเคลียร์ลดลงส่วนสาเหตุมาจากความไม่ปลอดภัยเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุรุนแรงหลายครั้ง
ส าหรับเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนบางอย่างยังขาดความน่าเชื่อถือและราคาค่อนข้างสูงจึง
ท าให้ไม่ได้รับความนิยมที่ควร
6.2.3 ปริมาณแห่งพลังงานส ารองของโลก
ปัจจุบัน พบว่าแหล่งพลังงานจากซากดึกด าบรรพ์เหลือน้อยเต็มทีโดยแหล่งน ้ามันที่มี
เหลืออยู่ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในแถบตะวันออกกลางรองลงมาคือบริเวณยุโรปรวมกับยุโรเชีย
อเมริกากลางรวมหรือเมริกาใต้และแอฟริกาส่วนแถบอเมริกาเหนือเอเชียแปซิฟิกมีเหลืออยู่
น้อยมาก
ส าหรับก๊าซธรรมชาติที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่อยู่ในแถบตะวันออกกลางรองลงมาคือบริเวณยุโรป
รวมกับยุโรเชียแอฟริกาและเอเชียแปซิฟิคอเมริกาเหนือและอเมริกากลางรวมถึงอเมริกาใต้มี
เหลืออยู่น้อยมาก
ส่วนถ่านหินมีเหลือมากที่สุดในแถบยุโรปรวมกับยุโรเชีย รองลงมาคือบริเวณเอเชียแปซิฟิก
และอเมริกาเหนือและมีเหลือในแอฟริกาอเมริกากลางรวมถึงอเมริกาใต้ไม่มากนัก
6.2.4 ผลกระทบจากการใช้พลังงาน
จากแนวโน้มการใช้ความต้องการใช้พลังงานจะเห็นว่าแหล่งพลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้กัน
มามากและมีความต้องการใช้มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคตคือพลังงานจากซากดึกด าบรรพ์เกือบ
ทั้งหมดประกอบกับแหล่งพลังงานเหล่านี้จะยังมีให้มนุษย์ในยุคปัจจุบันใช้ได้อย่างสะดวกและ
ไม่ขาดแคลนจึงเป็นสาเหตุหลักที่ท าให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์ผลเสียจาก
การใช้พลังงานเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการใช้และย้อนกลับมาท าลายมนุษย์
เองโดยเริ่มจากการท าลายสิ่งแวดล้อมมาก่อนผลกระทบในวงกว้างระดับโลกซึ่งเกิดจากการใช้
พลังงานจากซากดึกด าบรรพ์คือการเกิดปรากฏการณ์สภาวะอากาศของโลกเปลี่ยนไป
6.3 สถานการณ์พลังงานของประเทศ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์พลังงานของประเทศ นอกจากภาวะเศรษฐกิจและยังมี
ปัจจัยอื่นอีกหลายประการเช่นภาวะเศรษฐกิจโลกสถานการณ์ต่างๆของโลกซึ่งมันเป็น
สถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือล่อแหลมต่อการเกิดสงครามระหว่างประเทศเนื่องจากประเทศไทย
มีทรัพยากรพลังงานน้อยซึ่งไม่พอต่อความต้องการใช้พลังงานของประเทศจึงน าเข้าพลังงาน
จากต่างประเทศโดยเฉพาะน ้ามันดิบฐานหินและก๊าซธรรมชาติ