Page 10 - ท่านเฉกอะหมัด
P. 10
และมีอิทธิพลในวงราชการสืบต่อมาในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๑๒๗-๒๑๗๓) สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์
(ซึ่งครองราชย์ได้เพียง ๓๖ วัน ก็ถูกปลงพระชนม์) และสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๑๙๗) ในรัชกาล
ดังกล่าวแล้ว ประเทศสยามตั้งอยู่ในความสงบ ไม่มีการรบพุ่งกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นโอกาสให้ประเทศได้รับการ
ท านุบ ารุงให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น แม้บ้านเมืองจะพ้นภัยจากการย ่ายีจากภายนอก แต่ในพระราชส านักเองก็ ยังมีการคบคิดมิ
ดีมิร้ายต่อราชบัลลังก์อยู่เช่นเดิม ตลอดเวลาในสมัยนั้น เฉกอะหมัด คูมี ยังคงด าเนิน กิจการค้าสืบต่อมาจนได้กลายเป็น
เศรษฐีใหญ่มีชื่อเสียงในความซื่อสัตย์สุจริต และความจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์สยามที่ตนรับใช้สนองพระเดช
พระคุณทุกพระองค์ แม้จะยังคงนับถือศาสนาและถือเชื้อ ชาติเดิม อนุสรณ์สถานเฉกอะหมัด คูมีเจ้าพระยาเฉกอะหมัด
รัตนาธิบดี ได้รับราชการสนองพระเดช พระคุณพระมหากษัตริย์ไทยด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีรวมด้วยกันหกพระองค์
เริ่มจากสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรมจนถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมหาราช ด้วยความดีความชอบและความจงรักภักดี
ดังกล่าวแล้ว ๙๐ ในวัยชราเมื่อพ้นต าแหน่งราชการ เฉกอะหมัด คูมี จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จ
พระเจ้าปราสาททอง ให้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาบวรราชนายก อยู่ในต าแหน่งจางวางกรมมหาดไทย ซึ่ง เป็นต าแหน่งที่
ปรึกษาราชการแผ่นดิน เฉกอะหมัด คูมี ได้สิ้นชีพไม่นานหลังจากนั้นใน พ.ศ. ๒๒๐๒ เมื่ออายุได้ ๘๘ ป ีโดยมีบุตรชาย
คน หัวปี คือ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) เป็นผู้รับต าแหน่งทุกต าแหน่งสืบต่อมรดกอันล ้าค่า
10