Page 19 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 19

๑๓



     ทางมะพร้าว เล่นเข้าทรง ทายคําปริศนา นอกจากนั้นยังมีทบร้องเล่น เช่น

     จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกงแกงและบทล้อเลียน เช่น ผมจุก คลุก


     นํ้าปลา เห็นขี้หมานั่งไหว้กระจ๊องหง่อง เป็นต้น การละเล่นที่เล่นกลางแจ้ง

     หรือในร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก ขายแตงโม เก้าอี้ดนตรี แข่ง


     เรือคน ดมดอกไม้ปิดตาตีหม้อ ปิดตาต่อหาง โฮกปี๊บ เป่ ายิงฉุบ





     ๓. เพลงประกอบการละเล่น


                    ซึ่งมีบทร้องประกอบ บางอย่างมีลักษณะคล้ายกันหรือ

     เหมือนๆ กัน แต่บทร้องจะแตกต่างไปตามภาษาท้องถิ่น และเนื้อความซึ่ง


     เด็กเป็นผู้คิดขึ้น เช่น การละเล่นจํ้าจี้ หรือ ปะเปิ้มใบพลูของภาคเหนือ จํ้ามู่


     มี่ของภาคอีสาน และจุ้มจี้ของภาคใต้บทร้องจํ้าจี้ภาคกลางมีหลายบท แต่

     บทที่เป็นที่เด็กภาคกลางร้องกันเป็น เกือบทุกคนคือ


         “ จํ้าจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น พายเรือออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม

            สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบนํ้าท่าไหน อาบนํ้าท่าวัด เอาแป้ งที่ไหนผัด


                 เอากระจกที่ไหนส่อง เยี่ยม ๆ มอง ๆ นกขุนทองร้องวู้ ”


                   ปะเปิ้มใบพลูของเด็กเหนือ เป็นการละเล่นเพื่อเสี่ยงทาย เลือก

     ข้าง ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน วางฝ่ามือควํ่าลงบนพื้นคนละมือ คนหนึ่งในวงจะ


     ร้องว่า

                            “ปะเปิ้มใบพลู คนใดมาจู เอากูออกก่อน”


                        หรือ “จําปุ่ นจําปู ปั๋วใครมาดู เอากูออกก่อน”


            หรือ “จํ้าจี้จํ้าอวด ลูกมึงไปบวช สึกออกมาเฝียะอีหล้าท้องป่อง”

                   จํ้ามู่มี่ของเด็กอีสาน เล่นทํานองเดียวกับจํ้าจี้ของภาคกลาง แต่


     ถ้าคําสุดท้ายไปตกที่ผู้ใดผู้นั้นต้องเป็นคนปิดตานับหนึ่งถึงยี่สิบ แล้วคนอื่น

     ไปซ่อน เป็นการผนวกการละเล่นซ่อนหาเข้ามาด้วย บทร้องจํ้ามู่มี่มีทั้งสั้น
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24