Page 6 - E-BOOK 5
P. 6
การคมนาคม
ในอดีตชุมชนส่วนพลูมีการคมนาคมทางน้ำาเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันภายหลังมีการ
ถมคลองเห็นเป็นถนน การคมนาคมทางน้ำาจึงเลิกใช้ไป ปัจจุบันนั้นมีการคมนาคมหลาก
หลาย ได้แก่ รถไฟสายมหาชัย รถไฟฟ้าบีทีเอส (สถานีโพธิ์นิมิต) รถโดยสารประจำาทาง รถ
จักรยานยนต์รับจ้าง และรถยนต์ส่วนบุคคลอาชีพของคนใน ชุมชนจากการสัมภาษณ์คุณมุฮำา
หมัด หวังพฤกษ์ ประธานชุมชน (4 มีนาคม 2561) พบว่าคนชุมชน ประกอบอาชีพรับจ้าง
ค้าขายเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยที่จะรับราชการและประกอบกิจการส่วนตัวการ ศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรมชุมชนสวนพลูนั้นเป็นชุมชนชาวมุสลิมที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา ทำาให้
มากกว่า ร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนหนี่ ส่วนที่เหลือนั้นเป็นชาวไทยพุทธและ
ชาวไทยเชื้อ สายจีนเป็นประชากรแฝงที่ย้ายเข้ามาภายหลังชุมชนสวนพลูมีศาสนสถานสำาคัญ
คือ มัสยิดสวนพลู ซี่งใช้ ร่วมกันทั้ง 4 ชุมชนโดยรอบ คือ ชุมชนริมทางรถไฟ, ชุมชนพัฒนา
บ้านล่าง, ชุมชมชนตรอกเทวดา และ ชุมชนสวนพลู
ตลาดพลู
ตลาดพลู เป็นชุมชนและทางแยกตั้งอยู่บริเวณถนนเทอดไท แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี
ติดกับคลองบาง หลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ แต่เดิมนั้นเป็นพื้นที่ของชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐาน
มาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่อมา เมื่อย้ายราชธานีไปยังฝั่งพระนคร ชาวจีนบางส่วนที่ตลาดพลูจึง
ได้ย้ายไปสำาเพ็ง และมีชาวมุสลิมจากภาค ใต้ที่เข้ามาแทนที่
[1] ได้ริเริ่มการทำาสวนพลูที่นี่ ซึ่งทั้งชาวมุสลิมและชาวจีนต่างทำาสวนพลูจนเป็นอาชีพที่
แพร่หลาย จนเป็นตลาดซื้อขายพลู ที่เรียกว่าตลาดพลู จนบัดนี้ในอดีต ตลาดพลูเป็นย่านที่มี
ความคึกคักมาก มีโรงภาพยนตร์ 2 โรง จนมีคำากล่าวว่า “เยาวราชมีอะไร ตลาดพลูก็มีอย่าง
นั้น”ตลาดพลู ขึ้นชื่ออย่างมากใน เรื่องของเป็นแหล่งขายอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะ
อาหารจีนที่เป็นอาหารริมทาง เช่น ข้าวหมูแดง, ไอศกรีมกะทิไข่แข็ง เป็นต้น
6 7