Page 8 - 00000
P. 8
ในขณะนั้น เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงมีพระประสงค์ที่จะหาครูปี่พาทย์ขึ้นไป
ปรับปรุงวงดนตรี คุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) จึงแนะน านายสงัด ยมะคุปต์ ผู้มี
ฝีมือสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้ทุกชิ้น นายลมุลจึงได้มีโอกาสติดตามสามีขึ้นไปเชียงใหม่ และ
ได้รับพระกรุณาจากเจ้าแก้วรัฐ และพระชายาเจ้าดารารัศมีให้เป็นครูนาฏศิลป์ ขณะที่อยู่ในคุ้มเจ้าหลวง
ได้ปรับปรุงวงดนตรีปี่พาทย์และท่าร าต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกันจดจ าการบรรเลงและการแสดง
ของภาคเหนือชุดต่างๆ เช่น ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฯลฯ ลงมาเผยแพร่ที่
กรุงเทพฯเป็นคนแรก ความภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งในขณะที่อยู่ที่เชียงใหม่ คือเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยือนนครเชียงใหม่ ท่านได้เป็นครูฝึกซ้อมฟ้อนเทียนลอดใต้ท้องช้าง
ให้กับเจ้านายฝ่ายเหนือ ในการรับเสด็จในคร้งนั้น
ทั้งสองอยู่ที่เชียงใหม่ได้ประมาณ ๓-๔ ปี ท่านก็พาครอบครัวเดินทางกลับกรุงเทพฯ พักอยู่ไม่
นาน คุณครูเกตุมงดี อดีตละครหลวงในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ต่อต่อชักชวนให้
ไปช่วยท างานการละครและดนตรีไทยในประเทศเขมร ท่านทั้งสองจึงตัดสินใจพอครอบครัวไปเขมร
อีกครั้งหนึ่ง นายสงัดได้ไปเป็นครูสอนปี่พาทย์ ให้กับวงนายขาวที่เมืองพระตะบอง ส่วนนางลมุลนั้น
เป็นผู้แสดงน าคณะละครไปแสดงด้วย การเดินทางในครั้งนั้น กล่าวว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ไม่เคย
ลืม อยู่เขมรได้ประมาณ ๑ ปีก็อพยพครอบครัวเดินทางกลับกรุงเทพฯ
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเปิดโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ได้มี
พระราชโทรเลขไปยังเชียงใหม่ ถึงพระราชชายา เจ้าดารารัศมีขอครูฟ้อนและครูปี่พาทย์ ให้มาหัด
ละครและปี่พาทย์หลวง ด้วยทรงพอพระทัยอย่างยิ่งทางเชียงใหม่ขัดการรับเสด็จให้ในครั้งนั้น พระราช
ชายา เจ้าดารารัศมี กราบถวายบัคมทูบตอบพระราชโทรเลขกลับมาว่า ครูที่ฝึกซ้อมในครั้งนั้น คือ
นายสงัด และนางลมุล ยมะคุปต์ ท่านทั้งสองกลับลงมาอยู่ที่กรุงเทพฯ แล้วพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าฯ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ บอกให้พระยานัฏกานุรักษ์ตาม
ครูทั้งสองให้ไปหัดฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนเมือง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ถวายตามพระราชประสงค์
นับว่าเป็นการฟ้อนครั้งแรกที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ
- 8 -