Page 31 - คู่มือนักศึกษา โลจิสติกส์ 2563-1
P. 31
308208 เศรษฐศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(3–0–6)
(Economics of Logistics and Supply Chain Management)
พื้นความรู้ : สอบผ่านรายวิชา 308203 การจัดการโลจิสติกส์และ
โซ่อุปทาน
ศึกษาและประยุกต์แนวคิด ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างมี
ประสิทธิภาพเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจในแต่ละกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ การบริหารจัดการที่มีผลต่อการดำเนิน
ธุรกิจ ได้แก่ การพยากรณ์อุปสงค์ การวางแผนและการจัดหาวัตถุดิบ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน
สำหรับกิจกรรมโลจิสติกส์ การวิเคราะห์โครงสร้างตลาดปัจจัยการผลิตและผลผลิตในธุรกิจโลจิสติกส์
308302 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(2–2–5)
(Information Technology for Logistics and Supply
Chain Management)
ความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนเป้าหมายการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เช่น การขนส่ง การบริการ การ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ภูมิสารสนเทศ การออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์
และโซ่อุปทาน ผลกระทบของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่อองค์การที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์
และโซ่อุปทาน
308303 เศรษฐศาสตร์การขนส่ง 3(3–0–6)
(Economics of Transportation)
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการขนส่งทางบก การขนส่งทางราง การขนส่งทางอากาศ และการ
ขนส่งทางน้ำ การบริหารจัดการในเชิงวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทาน ความสำคัญและบทบาทของการขนส่ง
ต่อระบบเศรษฐกิจ แนวคิดการกำหนดราคา และวิเคราะห์ต้นทุน รวมทั้งปัจจัยการเงินและการตลาด
กำหนดและออกแบบตัวแบบขนส่งโดยการประยุกต์ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการการขนส่งอย่างมี
ประสิทธิภาพสูงสุด และสร้างมูลค่าเพิ่มต่อกิจกรรมโดยรวมของโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน
308304 การจัดการการขนส่งทางบก 3(3–0–6)
(Land Transportation Management)
ความหมายและความสำคัญของการขนส่งทางบก หลักการจัดการการขนส่ง ทางบก การจัดการ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก การเลือกใช้พลังงานเชื้อเพลิงการออกแบบเส้นทางตารางการขนส่ง
ระบบเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งโครงสร้างของการขนส่งและวิธีการในกำหนดค่าขนส่ง เอกสารและ
กฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบก
คู่มือนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 31