Page 34 - คู่มือนักศึกษา โลจิสติกส์ 2563-1
P. 34
308402 การประเมินเพื่อวินิจฉัยระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(2–2–5)
(Diagnostic Assessment in Logistics and Supply
Chain System)
แนวคิด ทฤษฎี หลักการ เครื่องมือและดัชนีชี้วัดต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ
ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เช่น ตัวแบบจำลองเชิงอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน
การเทียบเคียงประยุกต์เพื่อความเป็นเลิศ การคิดต้นทุนฐานกิจกรรม การกำหนดดัชนีตัวชี้วัด ปัจจัยที่มี
ผลกระทบต่อการปรับปรุงสมรรถนะโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อนำมาวินิจฉัยระบบโลจิสติกส์และโซ่
อุปทานขององค์การ
308403 โลจิสติกส์และโซ่อุปทานกับการพัฒนาเศรษฐกิจในกลุ่มอีสานใต้ 3(3–0–6)
(Logistics and Supply Chain with Economic
Development in Northeastern)
พื้นความรู้ : สอบผ่านวิชา 308203 การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ศึกษาโลจิสติกส์ระดับมหภาค ความสำคัญของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกับการพัฒนาเศรษฐกิจใน
กลุ่มอีสานใต้ ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาระบบ ระบบการรวมกลุ่ม
อุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างจังหวัด การขับเคลื่อนโลจิสติกส์และ
โซ่อุปทาน การแก้ไขปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ศึกษาดูงาน
308405 โลจิสติกส์กับการพัฒนาเมือง 3(3-0-6)
(Logistics for Urban Development)
การศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเพื่อให้ระบบโลจิสติกส์เป็นเครื่องมือสนับสนุนและ
พัฒนาเมืองให้เติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษางานวิจัยและกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองที่ส่งผล
ต่อระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
308406 การวิจัยการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(2–2–5)
(Logistics and Supply Chain Research)
กระบวนการ การออกแบบและขั้นตอนในการทำวิจัย การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย การ
ทบทวนวรรณกรรม การกำหนดกรอบแนวความคิด และข้อสมมุติฐาน เทคนิคการสร้างเครื่องมือในการวิจัย
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดตัวอย่าง การวิเคราะห์และตีความข้อมูลจากการวิจัย การรายงาน
ผลการวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
คู่มือนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 31