Page 14 - เนื้อหา
P. 14
2. สิทธิที่จะรับเงินปันผล ซึ่งคณะกรรมการบริษัทประกาศจ่ายโดยจะได้รับหลังจากจ่ายให้ผู้ถือ
หุ้นบุริมสิทธิจนครบตามสิทธิแล้ว
3. สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญออกใหม่ได้ก่อนบุคคลอื่น
4. สิทธิในการได้รับคืนทุนที่เป็นเงินสดหรือสินทรัพย์ เมื่อบริษัทเลิกกิจการ
5. สิทธิในการเข้าตรวจดูการด าเนินงานของคณะกรรมการการเงิน และรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่
เกี่ยวกับกิจกรรมของบริษัท
หุ้นบุริมสิทธิ
หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหุ้นที่บริษัทออกเพื่อต้องการเงินทุนมากขึ้น แต่ไม่ต้องการให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ
ในการควบคุมการด าเนินงาน ได้มีลักษณะเป็นทุนและหนี้สินไม่หมุนเวียน ซึ่งลักษณะเป็นทุน
เหมือนกับหุ้นสามัญคือ ได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล ตามที่คณะกรรมการมีมติให้
ประกาศจ่าย จะได้มากน้อยอย่างไรขึ้นอยู่กับชนิดของหุ้นบุริมสิทธิ ในส่วนที่เป็นลักษณะหนี้สินไม่
หมุนเวียนนั้น ผลตอบแทนนี้เรียกว่าเงินปันผล ได้รับในอัตราคงที่ก าหนดไว้ในใบหุ้นและไม่มีสิทธิออก
เสียงและบริหารกิจการ ซึ่งเหมือนกับหุ้นกู้ที่มีสภาพเป็นหนี้สิน
ชนิดของหุ้นบุริมสิทธิ
หุ้นบุริมสิทธิที่ออกขายในกิจการบริษัทแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
1. หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม
2. หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม
3. หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ
4. หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ
5. หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพ
6. หุ้นบุริมสิทธิเรียกไถ่คืนได้
หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่มีสิทธิรับเงินปันผลในปีที่ประกาศ
จ่ายเงินปันผล และสามารถรับเงินปันผลย้อนหลังในปีที่ไม่ประกาศสะสมไปรับในปีที่ประกาศจ่าย
หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลย้อนหลัง
ส าหรับปีที่บริษัทไม่ได้ประกาศจ่าย ซึ่งจะมีสิทธิได้รับเงินปันผลเฉพาะปีที่ประกาศจ่ายเท่านั้น
หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิรับเงินปันผลร่วมกับหุ้นสามัญ ใน
ส่วนของเงินปันผลที่เหลือจากที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับเงินปันผลในอัตราเดียวกับผู้ที่หุ้นบุริมสิทธิแล้ว
โดยร่วมรับในอัตราส่วนทุนของหุ้นทั้งสองชนิดที่ได้รับช าระครบถ้วน
~ 10 ~