Page 7 - wittaya1
P. 7

ความส าคัญของโนนวัด




                              การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นการเปิดให้เห็นว่าบรรพบุรุษของคน
                ไทยนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนานถึง 4,000 ปี ในขั้นตอนของการศึกษาต่อไป หากมีการศึกษาข้อมูลตรงนี้อย่างจริงจัง
                จะท าให้เราเข้าใจบรรพบุรุษคนไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงได้ เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลของคนไทย
                ย้อนหลังไปตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งหลักฐานที่พบที่นี่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นข้อมูลใหม่ของโลกเลย
                ก็ว่าได้ นับเป็นการค้นพบครั้งส าคัญของโลก
                ความส าคัญต่อความรู้ทางโบราณคดีของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นจากแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดจะต้องถูกน ามาใช้เพื่อการ
                เรียนรู้ ที่ทุกภาคส่วน ทุกระดับจะเข้าถึงได้ การจัดระบบข้อมูลทางวิชาการที่เป็นมาตรฐานยังคงต้องด าเนินต่อไป แต่
                ความรู้ส าหรับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส าหรับชุมชนและอนุชนรุ่นหลัง ควรจะต้องถูกพัฒนาขึ้นมา และการ
                พัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นค าตอบที่จะต้องมีการแสวงหาแนวทางด้วยปัญญาของทุกภาคส่วนร่วมกันเพื่อบรรลุค าตอบที่
                ต้องการนี้
                ความส าคัญระดับท้องถิ่น

                1. เป็นเวลามากกว่า 2 ปีแล้ว ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้ร่วมท างานวิจัยร่วมกับนักวิจัยชาวต่างประเทศ
                และได้น าคณะครู อาจารย์ นักเรียนโรงเรียนในท้องถิ่น สถาบันการศึกษาต่างๆ และคณะผู้บริหารการปกครองระดับ
                จังหวัด อ าเภอ และท้องถิ่น มาเยี่ยมชมการขุดค้นทางโบราณคดี และได้มีการน าข้อมูลทางโบราณคดีที่เกิดขึ้น ไปใส่ไว้
                ในการเรียนการสอนของโรงเรียนในท้องถิ่นอีกด้วย
                2. ได้มีการร่วมกันพิจารณาอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากชุมชนเอง ได้ท าการประชาคม เพื่อต้องการให้มีการจัดสร้างศูนย์
                การเรียนรู้ท้องถิ่น ซึ่งมุ่งหวังให้ลูกหลานได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน และยังเป็นการสร้างแรงดึงดูด
                ด้านการท่องเที่ยว และในขณะเดียวกันยังจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนร่วมอยู่ด้วย
                3. การที่โครงการขุดค้นทางโบราณคดีโดยนักวิจัยชาวต่างประเทศ ได้มีโอกาสการจ้างงานคนในหมู่บ้านอย่างน้อย 20
                คน ในทุก ๆ ปี เป็นเวลากว่า 8 ปี ท าให้เกิดรายได้ และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน เพราะในหลุมขุดค้นนั้น

                ประกอบไปด้วยนักวิจัยจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ชุมชนเกิดการเรียนรู้ ปรับตัว และนอกจากนี้นักวิจัยชาวต่างชาติยัง
                ได้ซึมซับเอาวัฒนธรรมที่สวยงามคนไทย เช่น การมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่างๆ ทั้งงานแต่งงาน งานศพ และการบูรณ
                ปฏิสังขรวัด นอกจากนี้ยังช่วยซื้อผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านกลับไปเผยแพร่ในต่างประเทศด้วย





                 จุดเด่นบ้านโนนวัด



                1. แหล่งโบราณคดีที่มีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย
                2. หลุมขุดค้นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                3. มีโอกาสได้รับการพิจารณาให้เป็น “แหล่งมรดกโลกบ้านโนนวัด” ในอนาคต
                4. มีความเก่าแก่อยู่ในยุคหินใหม่ ประมาณ 4,500 ปีมาแล้ว ร่วมสมัยเดียวบ้านเชียง จังหวัด

                อุดรธานี ถึงประมาณ 1,000 ปี
                5. มีลวดลายที่ปรากฏบนภาชนะดินเผา เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่บ้านโนนวัด
                6. ครั้งแรกของประเทศไทยที่พบว่าเป็นศพผู้ใหญ่ที่ถูกน าบรรจุใส่ในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่มีอายุ

                ราว 4,000 ปี



                                                 โดย โรงเรียนบ้านหนองยาง(อนุศาสนานุสรณ์)
   2   3   4   5   6   7   8