Page 125 - โครงการ_Neat
P. 125

- 121 -








               ของจําเลยที่ 2 ในกิจการนี้โดยปริยาย เมื่อจําเลยที่ 1 ขับรถยนต์กลับกองพล

               ทหารม้าได้ชน์ รถยนต์โจทก์เสียหาย ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 ทําละเมิดภายในขอบ


               อํานาจแห่งฐานตัวแทนจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ตัวการย่อมต้องรับผิดร่วมกับจําเลยที่


               1 ซึ่งเป็นตัวแทนในผลแห่งละเมิดที่จําเลยที่ 1 ทําไปนั้น แม้จําเลยที่ 1 และ


               จําเลยที่ 2 จะเป็นข้าราชการทหารสังกัดอยู่ในกองพลทหารม้าซึ่งอยู่ในบังคับ


               บัญชาของกองทัพบก จําเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การขนปูนซิเมนต์ดังกล่าวข้างต้น


               เป็นเรื่องส่วนตัวของจําเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่ราชการของ


               จําเลยที่ 3 แต่อย่างไร การใช้รถยนต์ของทางราชการก็ดี การเติมนํ้ามัน ของทาง


               ราชการก็ดี หาทําให้กิจการส่วนตัวจําเลยที่ 2 กลายเป็นงานราชการของจําเลยที่


               3 ไปไม่ จําเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จําเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่


               โจทก์


               ประเภทของตัวแทน


                       ตัวแทน คือบุคคลที่กฎหมายมอบอํานาจให้ทําหน้าที่แทนตนให้กระทํา


               การทั่วไปหรือทําการ เฉพาะอย่าง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท คือ


                       1. ตัวแทนรับมอบอํานาจเฉพาะการ หมายถึง ตัวแทนซึ่งมีอํานาจทํา

               กิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เฉพาะเรื่อง จะทํากิจการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่


               ได้รับมอบไม่ได้ เช่น นายแดงแต่งตั้งให้นายดํา เป็นตัวแทนไปพิจารณาตรวจ


               รับอาคารที่บริษัทก่อสร้างใหม่นายดําก็มีอํานาจแค่ไปพิจารณาตรวจรับงาน


               เท่านั้น จะไปสั่งให้บริษัทกั้นห้อง หรือต่อเติมใดๆ ไม่ได้


               2. ตัวแทนรับมอบอํานาจทั่วไปเฉพาะกิจการ หมายถึง ตัวแทนที่ได้รับมอบ


               อํานาจทั่วไปใน กิจการมีอํานาจบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เพื่อให้กิจการ


               บรรลุเป้าหมาย เช่น นายแดงตั้งนายดํา เป็นตัวแทนฝ่ายขาย นายดําจะเสนอ
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130