Page 147 - โครงการ_Neat
P. 147

- 143 -








                                 หากต้องการระบุให้ผู้รับเงินในช่องผู้สั่งจ่ายเท่านั้น เป็นผู้รับเงิน

                  ให้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก แต่ในเช็คที่สั่งจ่ายว่า “เงินสด” จะต้องคงคํา


                  ว่า “หรือผู้ถือ” ไว้ มิฉะนั้นธนาคารจะปฏิเสธ การจ่ายเงินเพราะไม่มีผู้ใดเป็น


                  ผู้ทรงเช็ค และเช็คที่ระบุผู้รับเงินโดยไม่ขีดฆ่า “หรือผู้ถือ” นั่นแปลว่า เช็ค


                  ฉบับนี้จ่ายให้แก่ผู้รับเงินตามเช็ค หรือใครก็ได้ที่ถือเช็คฉบับนี้ไปขึ้นเงินกับ


                  ธนาคาร


                          ค ำพิพำกษำฎีกำที่ 5250/2533 เช็คผู้ถือมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์เช็คผู้


                  ถือมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แม้จะมีข้อความ และถูกขีดฆ่าก่อนที่


                  โจทก์ได้รับมา ข้อความดังกล่าวก็หามีผลกระทบต่อเช็คไม่ และถือไม่ได้ว่า


                  โจทก็ได้เช็คมาโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์เป็น


                  ธนาคารได้รับเช็คจากลูกค้าเพื่อเพื่อชําระหนี้ตามปกติทางการค้า หาจําต้องมี


                  หน้าที่ตรวจสอบถึงที่มาหรือฐานะของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์


                  คบคิกกับลูกค้าฉ้อฉล จําเลยต้องรับผิดชอบตามเนื้อความในเช็คต่อโจทก์ซึ่ง


                  เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย


                  กำรขีดคร่อมเช็ค

                          ตามปกติเช็คไม่จําเป็นต้องขีดคร่อม หากแต่เมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คต้องการ


                  กําหนดลักษณะการจ่ายเช็ค ให้แก่ผู้รับเงินไว้ ผู้สั่งจ่ายเช็คจะขีดคร่อมเช็ค


                  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดตามว่าธนาคารสงจา0 " ให้กับผู้ใดบ้าง


                  โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้


                          1. เช็คขีดคร่อมทั่วไป คือ การขีดเส้นขนานคู่ขวางไว้ด้านมุมซ้ายของ


                  เช็ค เช็คขีดคร่อมลักษณะ ผู้ทรงเช็คต้องนําเช็คนี้เข้าบัญชีธนาคารเท่านั้น จะ


                  ให้ธนาคารจ่ายเป็นเงินสดไม่ได้
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152