Page 5 - โครงการ_Neat
P. 5

- 2 -






                        กฎหมายเป็นบรรทัดฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้สังคมเป็นระเบียบ


                เรียบร้อย กฎหมายจึงบังคับใช้กับมนุษย์ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า “บุคคล” และ


                กฎหมายบางเรื่องจะไม่ได้กําหนดถึงการบังคับใช้กับบุคคลโดยตรง เช่นประมวล


                กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 145 บัญญัติว่า “ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดิน


                ที่ไม้นั้นขึ้นอยู่”และวรรค 2  “ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติมันจะเก็บเกี่ยวผลได้คราว



                หนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน”หรือในมาตรา 1348 บัญญัติ


                ว่า “ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใดท่านให้


                สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น” เช่นนี้ จะเห็นว่าแม้กฎหมาย


                จะบัญญัติโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับตัวบุคคลโดยตรงแต่ก็มีนัยที่ท้ายที่สุดแล้วจะ



                ได้นําไปเพื่อพิสูจน์สิทธิของบุคคลในภายหลังนั่นเอง


                บุคคลตามกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดำ กับ นิติบุคคล


                       บุคคลธรรมดำ



                       บุคคลธรรมดาหมายถึงมนุษย์หรือคนปกติที่มีเพศมีอวัยวะต่าง ๆจะครบ


                หรือไม่ครบ 3 2   ประการก็สุดแท้แต่ แต่ในทางกฎหมายกําหนดว่า บุคคลที่


                กฎหมายจะนํามาบังคับใช้นั้นจะต้องมีสภาพบุคคล ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่า


                “สภาพบุคคลย่อมเริ่มต้นแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกแล้วสิ้นสุดลงเมื่อ


                ตาย”



                       กำรมีสภำพบุคคล


                สภาพบุคคลนั้นกฎหมายกําหนดว่าเริ่มต้นเมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกซึ่งหาก


                เราพิจารณาแล้วจะพบว่าการเริ่มต้นของสภาพบุคคลนั้นต้องประกอบด้วย 2


                องค์ประกอบคือ                   1.คลอด 2.อยู่รอดเป็นทารก
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10