Page 15 - Demo
P. 15
ละเอียด (ดินเหนียวและดินตะกอน) จะถูกพัดพาไปตกตะกอนยังบริเวณที่ราบน้ําท่วมถึง (Floodplain) โดยอนุภาคเหล่านี้จะตกตะกอนในอัตราที่ต่างกัน ทําให้เกิดที่ลุ่มหลังคันดิน (Backswamp Deposits) ซึ่งมักเป็นดินเหนียวที่มีค่าพลาสติกสูง ดังแสดงในรูปที่ 1.5
รูปที่ 1.5 คันดินธรรมชาติ (Natural levee) (Das 2011)
4) ดินที่เกิดจากการนําพาของธารน้ําแข็ง(GlacialDeposits):ในยุคน้ําแข็ง(Pleistocene)ธาร น้ําแข็งครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ของโลก ธารน้ําแข็งได้นําพาอนุภาคทราย ดินตะกอน ดินเหนียว กรวดและหินขนาดใหญ่ไปตกตะกอนยังที่ต่างๆ การตกตะกอนของการพัดพาโดยธารน้ําแข็งนั้น จะแบ่งออกไปได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ (ก) การตกตะกอนไม่เป็นชั้น (Unstratified Drifts) และ (ข) การ
ตกตะกอนแบ่งออกเป็นชั้น (Stratified Drifts)
ก) การตกตะกอนไม่เป็นชั้น (Unstratified Drifts): ธารน้ําแข็งนําเอาตะกอนไปพร้อมกันกับ
การเคลื่อนที่ เมื่อธารน้ําแข็งนั้นละลาย ตะกอนที่ถูกนําพามาจะตกสะสมตัวลงพร้อมกัน ทํา ให้มีขนาดของอนุภาคหลากหลายขนาด โดยเรียกการสะสมตัวของตะกอนแบบนี้ว่า ตะกอน ธารน้ําแข็ง (Glacial Till) ตะกอนธารน้ําแข็งที่ประกอบด้วยดินเหนียวเป็นส่วนใหญ่จะถูก เรียกว่า ตะกอนดินเหนียว (Clay Till) ถ้าตะกอนธารน้ําแข็งที่ประกอบด้วยหินขนาดใหญ่ เป็นส่วนใหญ่จะถูกเรียกว่า ตะกอนหิน (Boulder Till) เนื่องจากขนาดของดินตะกอนมีความ หลากหลาย ทําให้ผลจากการทดสอบ ทะลุทะลวงมาตรฐาน (Standard Penetration Test, SPT) มีความแปรปรวน
ข) การตกตะกอนแบ่งออกเป็นชั้น (Stratified Drifts):
ดินทราย ดินตะกอน และดินเหนียวที่ถูกพัดพาโดยน้ําที่ละลายมาจากธารน้ําแข็งด้านหน้า เรียกว่า ตะกอนน้ําแข็งละลาย (Outwash) การตกตะกอนจะแบ่งเป็นชั้นๆ เรียงตามขนาด
6