Page 14 - Demo
P. 14
รูปที่ 1.3 ภาพตัดขวางของดินตะกอนที่น้ําพาแบบไขว้ (Das 2011)
ข) ดินตะกอนแม่น้ําแบบคดโค้ง (Meandering Belt of Streams): เกิดที่บริเวณแม่น้ําที่มี การไหลแบบคดโค้ง ดินริมตลิ่งจะถูกกัดเซาะต่อเนื่องทําให้บริเวณดังกล่าวเกิดเป็นรูปร่าง ลักษณะโค้งเว้า และดินที่ถูกกัดเซาะจะตกตะกอนในบริเวณฝั่งตรงข้าม ซึ่งทําให้ริมตลิ่ง ดังกล่าวมีลักษณะโค้งนูน ดังแสดงในรูปที่ 1.4 โดยบริเวณดังกล่าวมีการสะสมตัวของตะกอน (Point Bar) ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคของทรายและดินตะกอน บางครั้งการไหลของน้ํามีการ เปลี่ยนเส้นทางการไหลของน้ําเป็นการไหล ทําให้เกิดทะเลสาบรูปแอก (Oxbow Lake)
บริเวณท่ีสะสมตะกอน
ทะเลสาบรูปแอก (Oxbow Lake)
บริเวณที่ถูกกัดเซาะ
รูปท่ี 1.4 การไหลของแม่น้ําบางปะกงที่มีการไหลแบบคดโค้ง (https://www.travelin8riew.com/webapp/featured_item/ลุ่มแม่นํ้าบางปะกง)
ในช่วงน้ําท่วม แม่นํ้าเกิดการเออล้นในบริเวณพื้นที่ตํ่า อนุภาคดินทรายและดินตะกอนถูกพัด พาและไปตกตะกอนบริเวณริมตลิ่งทําให้คันดินธรรมชาติ (Natural Levee) ส่วนดินเม็ด
5