Page 20 - Demo
P. 20
ง) คําณวนหาระดับความลึกD2เมื่อD2คือระดับความลึกที่มีอัตราส่วนระหว่างค่าการเพ่ิมข้ึน
ของความเค้นประสิทธิผลต่อความเค้นประสิทธิผล (∆σ′:σ′) เท่ากับ 0.05
จ) ระดับความลึกที่น้อยที่สุดท่ีควรเจาะสํารวจ(D)คือค่าท่ีน้อยที่สุดระหว่างD1และD2ยกเว้น
ในกรณีท่ีเจาะไปเจอชั้นหิน
Sower and Sower (1970) ได้แนะนําระดับความลึกของหลุมเจาะสํารวจท่ีน้อยท่ีสุดของอาคาร ที่มีความกว้างประมาณ 30 เทตร โดยแสดงในตารางที่ 1.1
ในการหาระดับความลึกที่น้อยท่ีสุดของหลุมสํารวจในการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลและ สํานักงาน Sower and Sower (1970) ได้แนะนําดังต่อไปน้ี
Db =a S0.7
(1.1)
โดย
Db = ระดับความลึกของหลุมเจาะ (m)
S = จํานวนช้ัน
a = 3 (โครงสร้างอาคารเป็นเหล็กเบาหรือโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กท่ีมีขนาดแคบ)
= 6 (โครงสร้างอาคารเป็นเหล็กเบาหรือโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กท่ีมีขนาดแคบ)
ตารางที่ 1.1 ระดับความลึกที่น้อยที่สุดของหลุมสํารวจ สําหรับอาคารท่ีมีความกว้าง 30 เมตร (Sower and Sower, 1970)
จํานวนชั้น 1
2
3
4
5
ระดับความลึกท่ีน้อยท่ีสุดของหลุมสํารวจ (m) 3.5
6.0
10.0
16.0
24.0
ในกรณีท่ีการก่อสร้างมีการขุดเจาะดินท่ีมีระดับความลึกมาก ความลึกของหลุมสํารวจควรลึก มากกว่า 1.5 เท่าของระดับความลึกของงานก่อสร้าง แต่ในบางคร้ังสภาพของช้ันดินท่ีเจาะ สํารวจพบว่าไม่สามารถรับแรงที่กระทํากับฐานรากได้ จึงจําเป็นท่ีต้องถ่ายแรงจากฐานรากท่ี ไปยังช้ันหินแข็ง โดยความหนาของชั้นหินควรจะหนาประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าชั้นหินมี คุณภาพไม่ดี มีความคุณสมบัติท่ีไม่สมํ่าเสมอหรือผุกร่อน การเจาะสํารวจจะต้องเจาะลึกลงไป เกินกว่าชั้นหิน ข้อแนะนําสําหรับระยะห่างของหลุมสํารวจแสดงในตารางท่ี 1.2
11