Page 22 - Demo
P. 22
(a) (b) รูปที่ 1.10 สว่านเจาะดินแบบมือ (Hand Auger):
(a) สว่านมือแบบโพสท์โฮล (Posthole) (b) สว่านมือแบบเฮลิคอล (Helical) (Das 2011)
รูปที่ 1.11 หัวเจาะสว่านต่อเนื่องแบบขั้นบันได (Continuous Flight Auger) (Das 2011)
ถ้าก้านเกาะเป็นแบบแท่งตัน การนําตัวอย่างดินขึ้นมาต้องทําการถอนก้านเจาะออกจากหลุมและ ติดตั้งอุปกรณ์อื่น เพื่อทดสอบหาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดิน เช่นการทดสอบการเจาะแบบ มาตรฐาน ก้านเจาะแบบแท่งกลวงมีข้อดีท่ีแตกต่างไปจากก้านเจาะแบบแท่งตันคือไม่จําเป็นต้อง ถอดก้านเจาะออก เพื่อเก็บตัวอย่างหรือติดตั้งอุปกรณ์อื่นเพื่อการทดสอบอื่น ๆ ส่วนประกอบของ ก้านเจาะแบบกลวงแบ่งออกเป็นส่วนในและส่วนนอกดังแสดงในรูปที่ 1.13 หัวเจาะมีฟันคาร์ไบด์ ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ในระหว่างการขุดเจาะถ้าต้องการเก็บตัวอย่างดิน โดยส่วนประกอบชุด นําร่องและแกนกลางจะถูกดึงออก และกระบอกเก็บตัวอย่างดินจะถูกแทรกผ่านรูกลวงของก้าน เจาะสว่านแทน
13