Page 218 - Demo
P. 218

5) Constant Rate of Penetration: การทดสอบนี้จะใช้ทดสอบเฉพาะเสาเข็มเด่ียวเท่านั้น การทดสอบจะเพ่ิมนํ้าหนักให้กับเสาเข็มทดสอบ โดยอัตราการทรุดตัวของเสาเข็มคงที่อยู่ในช่วง 0.25 – 1.25 มม. ต่อ นาที สําหรับเสาเข็มท่ีตอกในชั้นดินท่ีมีแรงยึดเหน่ียว และ 0.75 – 2.5 มม. ต่อ นาที สําหรับเสาเข็มที่ตอกในช้ันดินท่ีไม่มีแรงยึดเหน่ียวหรือกรวด การเพิ่มนํ้าหนักจะกระทําไป เร่ือยๆ จนกระทั่งเสาเข็มเกิดการวิบัติ
6) QuickLoadTest:การทดสอบแบบน้ีจะใช้ทดสอบเฉพาะเสาเข็มเด่ียวเท่าน้ันการทดสอบจะเร่ิม จากการเพิ่มน้ําหนักทดสอบข้ันละ 10-15% ของน้ําหนักท่ีออกแบบไว้ และคงน้ําหนักในแต่ละขั้นไว้ 2 นาทีครึ่ง การเพิ่มน้ําหนักน้ีจะเพ่ิมข้ึนเร่ือย ๆ จนเสาเข็มเกิดการวิบัติหรือถึงน้ําหนักสูงสุดของ แม่แรงที่ทดสอบ
7) Constant Settlement Increment: การทดสอบวิธีน้ีจะใช้เฉพาะทดสอบเสาเข็มเด่ียวเท่านั้น วิธีทดสอบจะเพิ่มนํ้าหนักกดเพื่อ ให้เกิดค่าการทรุดตัวในแต่ละข้ัน ประมาณ 1% ของขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม น้ําหนักที่กดลงบนเสาเข็ม จะต้องสามารถปรับให้ค่าการทรุดตัวที่เพิ่มข้ึน แต่ละข้ันเท่า ๆ กัน การเพิ่มนํ้าหนักจะกระทําจนกระทั่งค่าการทรุดตัวรวมของเสาเข็มมีค่าประมาณ 10% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม หรือถึงความสามารถสูงสุดของแม่แรง
ในการทดสอบการรับนํ้าหนักของเสาเข็มจะต้องอ่านค่าการทรุดตัวของเสาเข็มทดสอบก่อนและหลังจาก ที่เพ่ิมหรือลดนํ้าหนักบรรทุกทุกครั้ง นอกจากน้ียังต้องมีการจดบันทึกระยะถอนตัวของเสาเข็มสมอและ อุณหภูมิขณะทดสอบทุกครั้งที่เพิ่มหรือลดนํ้าหนักบรรทุก เน่ืองจากมาตรวัดค่าการทรุดตัวจะติดตั้งบน คานเหล็กซึ่งอาจมีการหดหรือขยายตัวและจะมีผลต่อการอ่านค่าการทรุดตัวของเสาเข็ม วิธีการทดสอบ เสาเข็มเพื่อหาค่าสูงสุดและค่าท่ีใช้ในการออกแบบตามมาตรฐานจะมีหลายวิธีการเลือกทดสอบวิธีซ่ึง ข้ึนกับอุปกรณ์และเครื่องมือและวัตถุประสงค์ของการนําข้อมูลไปใช้อย่างไรก็ตามวิธีที่นิยมใช้คือวิธีที่ 1 Standard Loading Procedure และ วิธีท่ี 6 Quick Load Test ในกรณีที่ต้องการน้ําหนักสูงสุดที่ เสาเข็มจะรับได้
วิธีการทดสอบแบบ Static Load Test มีวิธีทดสอบท่ัวไป 2 วิธี ได้แก่
1) Static Load Test แบบเข็มสมอคือการทดสอบเสาเข็มโดยตอกเสาเข็มเป็นสมอยึดคานรับแม่แรง
(Hydraulic Jack) โดยอาศัยแรงฝืดของดินเป็นตัวต้านแรงถอนตัวจากแรงท่ีกดลงเสาเข็มทดสอบ การตอกเข็มสมอลงบนดินควรตอกในช้ันดินที่มีแรงยึดเหนี่ยวเน่ืองจากจะมีความฝืดมากกว่าดิน ประเภทอ่ืนๆ ดังแสดงในรูปที่ 5.11
2) Static Load Test แบบวัสดุถ่วงคือการทดสอบระบบน้ีจะใช้ในกรณีท่ีเสาเข็มสมอใช้การไม่ได้ เน่ืองจากช้ันดินท่ีทําการตอกเข็มสมอมีแรงฝืดไม่เพียงพอท่ีจะรับแรงถอนของแม่แรง (Hydraulic jack) ดังน้ันจึงใช้วิธีน้ีหลักการของ Static Load Test แบบวัสดุถ่วงคือวางวัสดุหนักๆ ลงบนคาน
 209
 

























































































   216   217   218   219   220