Page 220 - Demo
P. 220
รูปที่ 5.13 การติดตั้ง Dial Gauges เพื่อวัดการทรุดตัวของเสาเข็ม (ฉัตรชัย บุญไชยโย 2557) ในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างน้ําหนักบรรทุกและการทรุดตัวเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบ ดังแสดง
ในรูปที่ 5.14
การวิบัติของเสาเข็มเดี่ยวที่รับแรงกดในแนวดิ่งหมายถึง น้ําหนักสูงสุดที่เสาเข็มจะรับได้ ซึ่งสามารถหา ได้จากข้อมูลการทดสอบเสาเข็มโดยดูจากลักษณะของกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง น้ําหนักบรรทุกกับ ระยะการทรุดตัวของเสาเข็ม ลักษณะการวิบัติของเสาเข็มจากการทดสอบสามารถพิจารณาได้ว่า เสาเข็มจะวิบัติเมื่อ
1. น้ําหนักบรรทุกที่ทําให้เกิดค่าการทรุดตัวทั้งหมด(GrossSettlement)เท่ากับ10%ของด้านแคบ ของหน้าตัดเสาเข็ม หรือ 10% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม ดังแสดงที่จุด B ในรูปที่ 5.15(ก)
2. น้ําหนักบรรทุกที่ทําให้เกิดค่าการทรุดตัวทั้งหมด (Gross Settlement) ของเสาเข็มเพิ่มขึ้นไม่เป็น สัดส่วนกับการเพิ่มขึ้นของน้ําหนักบรรทุกดังแสดงที่จุด C ในรูปที่ 5.15(ก)
3. น้ําหนักบรรทุกที่ทําให้ค่าการทรุดตัวสุทธิ(NetSettlement)เพิ่มขึ้นไม่เป็นสัดส่วนกับการเพิ่มขึ้น ของน้ําหนักบรรทุกดังแสดงที่จุด D ในรูปที่ 5.15(ข)
4. น้ําหนักบรรทุกที่ทําให้เกิดการทรุดตัวถาวรหรือการทรุดตัวสุทธิเท่ากับ 6 มม. ดังแสดงที่จุด E ใน รูปที่ 5.15(ข)
5. น้ําหนักบรรทุกที่ทําให้เสาเข็มวิบัติหาได้จากการลากเส้นสัมผัสของกราฟที่เขียนระหว่างน้ําหนัก บรรทุกและค่าการทรุดตัวทั้งหมดโดยลากเส้นจากส่วนที่ความชันน้อยในช่วงแรกและความชันมาก ขึ้นในช่วงหลังของการทดสอบมาตัดกันดังแสดงที่จุด F ในรูปที่ 5.15(ก)
6. เสาเข็มวิบัติเมื่อน้ําหนักบรรทุกที่ทําให้ค่าความชันของกราฟการทรุดตัวสุทธิกับค่าน้ําหนักบรรทุกมี ค่าเท่ากับ 25 มม. ต่อ 10 กิโลนิวตันของน้ําหนักทดสอบ
211