Page 314 - Demo
P. 314

กําแพงกันดินแบบมีครีบ (Counterfort) มีลักษณะคล้ายกับกําแพงกันดินแบบคานยื่น (Cantilever ) ต่างกันตรงที่มีครีบ (Counterfort) ยึดระหว่างผนังกับแผ่นพื้นของกําแพงเข้าด้วยกัน ดังแสดงในรูปที่ 7.4 จุดประสงค์ของครีบ เพื่อลดแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด
รูปที่ 7.4 กําแพงกันดินแบบมีครีบ (Counterfort) (Das 2011) ในการออกแบบกําแพงกันดินวิศวกรจะต้องรู้พารามิเตอร์พื้นฐานนั่นคือน้ําหนักหน่วย มุมของแรงเสียด
ทาน (φ′) และค่า c′ ของดินถมด้านหลังกําแพงและดินด้านล่างแผ่นพื้นของกําแพง การรู้คุณสมบัติของ ดินถมด้านหลังกําแพงทําให้วิศวกรสามารถคํานวณหาการกระจายแรงดันด้านข้างที่กระทํากับกําแพง เพื่อใช้ในการออกแบบขนาดหน้าตัดของตัวกําแพง
การออกแบบกําแพงกันดินมีสองส่วน
ส่วนที่1 คํานวณหาแรงดันดินด้านข้างที่กระทํากับกําแพงกันดินเพื่อถูกตรวจสอบความเสถียรภาพ ของกําแพงกันดิน โดยมีการตรวจสอบการพลิกคว่ํา (Overturning) การเลื่อนไถล (Sliding) และกําลัง รับน้ําหนักบรรทุกประลัยของกําแพง (Bearing Capacity)
ส่วนที่ 2 การออกแบบโครงสร้างของกําแพงกันดิน
โดยในบทนี้นําเสนอเฉพาะส่วนของการตรวจสอบความมั่นคงของกําแพงกันดิน ในส่วนการออกแบบ โครงสร้างของกําแพงกันดินนั้นอยู่ในเนื้อหาของการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
ในบางครั้งดินถมหลังกําแพงถูกปรับปรุงคุณความเสถียรทางกลไกโดยรวมถึงองค์ประกอบเสริมแรง เช่น แถบโลหะ (Metal Strips), บาร์ (Bar), Weld Wire Mats, Geotextile และ Geogrids ดังนั้นกําแพง กันดินเหล่านี้มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับการเคลื่อนที่ในแนวนอนและแนวตั้งขนาดใหญ่โดยที่ กําแพงกันดินไม่เกิดความเสียหาย
       305
 

























































































   312   313   314   315   316