Page 316 - Demo
P. 316
รูปที่ 7.6 ขนาดแนะนําของกําแพงกันดินแบบคานยื่น (Cantilever) สําหรับการตรวสอบเบื้องต้น (Das 2011)
กําแพงกันดินแบบ Gravity และคานยื่น (Cantilever) นั้น ผนังด้านบนควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.3 เมตร และระดับความลึกของกําแพงกันดินที่ฝั่งลงในดิน (D) ไม่ควรน้อยกว่า 0.6 เมตร สําหรับกําแพง กันดินมีครีบ(Counterfort) นั้น จะมีขนาดเดียวกับกําแพงกันดินแบบคานยื่น (Cantilever) แต่แผ่นผื้น ควรจะหนาไม่น้อยกว่า 0.3 เมตร และระยะห่างในการติดตั้งครีบ (Counter) ควรจะอยู่ระหว่าง 0.3H ถึง 0.7H จากกึ่งกลางถึงกึ่งกลาง (Center to Center)
7.3 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงดันดินด้านข้างกับการออกแบบกําแพงกันดิน(Application of Lateral Earth Pressure Theories to Design) ทฤษฎีขั้นพื้นฐานในการคํานวณหาแรงดันดินด้านข้างที่นําเสนอในบทที่ 6 ในการใช้ทฤษฎีในการ ออกแบบ วิศวกรจะต้องมีสมมติฐานในการออกแบบ ในกรณีกําแพงกันดินแบบคานยื่น (Cantilever) นั้น ทฤษฎีของ Rankine จะใช้ในการตรวจสอบเสถียรภาพของกําแพงกันดิน โดยแรงดันดินด้านข้างเชิง รุก จะกระทําบนเส้นตรง AB ที่ลากจากจุด A ที่เป็น Heel ไปตัดที่ผิวดินถม ดังแสดงในรูปที่ 7.7 ในการ
307