Page 400 - Demo
P. 400

บทที่ 9
แผงค้ํายันกําแพงเข็มพืด (BRACED CUTS)
9.1 บทนํา(Introduction)
งานก่อสร้างที่มีความจําเป็นต้องขุดดินให้มีความชันอยู่ในแนวตั้งหรือใกล้แนวตั้ง ตัวอย่างเช่นชั้นใต้ดิน ของอาคารในพื้นที่ที่พัฒนาแล้วหรือสิ่งอํานวยความสะดวกการขนส่งใต้ดินที่ระดับความลึกใต้พื้นผิวดิน (ประเภทการก่อสร้างแบบ Cut - Cover) การขุดดินให้มีความชันในแนวตั้งหรือใกล้แนวตั้งจําเป็นต้องมี ระบบค้ํายันชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงการวิบัติฐานรากของอาคารใกล้เคียงเนื่องจากการทรุดตัวหรือกําลังรับ น้ําหนักประลัย
รูปที่ 9.1 และ 9.2 แสดงการค้ํายันสองประเภทที่ใช้กันทั่วไปในงานก่อสร้าง ประเภทที่ 1 ใช้ เสาเข็ม เหล็กรูปตัว H ที่เรียกว่า Soldier Beam ถูกดันลงไปในดินก่อนทําการขุดดิน ดังแสดงในรูปรูปที่ 9.1 ไม้กระดานแผ่น (Laggings) จะถูกสอดระหว่างเสาเข็มเหล็กรูปตัว H อยู่ระหว่างการขุดดิน เมื่อการขุด ถึงระดับความลึกที่ต้องการจะมีการติดตั้ง Wales และ Struts (คานเหล็กแนวนอน) Struts เป็นชิ้นส่วน รับแรงอัด รูปที่ 9.2 แสดงการค้ํายันในกรณีของกําแพงเข็มพืด ซึ่งการค้ํายันของกําแพงเข็มพืดจะติดตั้ง ภายหลังการกดกําแพงเข็มพืดลงในดินและเมื่อขุดดินถึงระดับขุดที่เหมาะสม Wales และ Struts จะถูก ติดตั้งทันที
ก) รูปตัดขวาง ข) รูปมุมมองด้านบน รูปที่ 9.1 ระบบการค้ํายันของ Soldier Beam (Das 2011)
      




























































































   398   399   400   401   402