Page 401 - Demo
P. 401

       ก) รูปตัดขวาง ข) รูปมุมมองด้านบน รูปที่ 9.2 ระบบการค้ํายันของ Soldier Beam (Das 2011)
ในการออกแบบการขุดแบบค้ํายัน (เช่นเพื่อเลือก Wales, Struts, กําแพงเข็มพืด และคาน) วิศวกร จะต้องประมาณแรงดันดินด้านข้างที่กระทํากับระบบค้ํายัน การประมาณหาหาแรงดันดินด้านข้างเชิงรุก ที่กระทํากับระบบค้ํายันหาโดยใช้ทฤษฎี Wedge ของ Terzaghi (1943) อย่างไรก็ตามทฤษฎีของ Terzaghi นี้ ไม่ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันดินด้านข้างเชิงรุกกับระดับความลึก แต่ทฤษฎีของ Terzaghi ได้แสดงให้เห็นถึงปัจัยอื่นๆที่มีผลต่อแรงดันดินด้านข้างเชิงรุก เช่น ชนิดของดิน ประสบการณ์ การก่อสร้างของผู้รับเหมา ชนิดของเครื่องมือทดสอบเป็นต้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวการคาดคะเนหา แรงดันดินด้านข้างที่กระทํากับระบบค้ํายันจะนําเสนอในหัวข้อต่อไป
9.2 การคาดคะเนแรงดันดินสําหรับการออกแบบแผงค้ํายันกําแพงเข็มพืด(Pressure Envelope for Braced-Cut Design)
ดังที่กล่าวไว้ในข้อ 9.1 แรงดันดินด้านข้างที่กระทํากับค้ํายันจะขึ้นอยู่กับชนิดของดินวิธีการก่อสร้างและ ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ ในการออกแบบ Strut ควรใช้แรงที่กระทํากับ Strut สูงสุดในการออกแบบ ดังนั้นการออกแบบค้ํายันควรได้รับการออกแบบโดยใช้แผนภาพแรงดันดินด้านข้างปรากฏ ซึ่งได้มาจาก การวัดแรงใน Strut ในสนามดังแสดงในรูปที่ 9.3 โดยแรงใน Strut ในรูปนี้คือ P1, P2, P3, P4 ฯลฯ ซึ่ง แรงดันดินด้านข้างปรากฏสามารถคํานวณได้ดังนี้
  392
 





























































































   399   400   401   402   403