Page 55 - Demo
P. 55
ในการออกแบบฐานรากตื้นสิ่งที่ต้องพิจารณาได้แก่
1. ดินใต้ฐานรากสามารถรับน้ําหนักที่ถ่ายลงมาได้โดยไม่เกิดการวิบัติ
2. ดินใต้ฐานรากไม่เกิดการทรุดตัวเกินกว่าค่ามาตรฐานตามข้อกําหนดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้
โครงสร้างของสิ่งก่อสน่งเกิดความเสียหาย
ความเค้นที่ถ่ายจากสิ่งก่อสร้างลงดินแล้วทําให้ดินเกิดการวิบัติเรียกว่า กําลังรับน้ําหนักบรรทุกประลัย (Ultimate Bearing Capacity) ซึ่งจะกล่าวในบทนี้
2.2 แนวคิดทั่วไป(GeneralConcept)
การวิบัติของฐานรากถูกแบ่งออกเป็น3 ลักษณะ โดยศึกษาจากการรับน้ําหนักบรรทุกของฐานราก ต่อเนื่อง (Strip Foundation) ที่มีขนาดความกว้าง B
กรณีที่ 1: ฐานรากตั้งอยู่บนชั้นทรายแน่นหรือดินเหนียวแข็ง เมื่อมีน้ําหนักมากระทํากับฐานราก ฐานรากค่อยๆเกิดการทรุดตัวจมลงในดินโดยแรงที่กระทํากับฐานราก(Applied Loaded, Qap) จะถูกแสดงในรูปของความเค้นที่กระทํากับดินหรือความเค้นที่ถ่ายลงดิน (Applied Stress, qap) กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นที่กระทํากับการทรุดตัวในรูปที่ 2.1ก แสดงค่าความเค้นสูงสุด ซึ่งเป็นจุดที่ดินเกิดการวิบัติ ความเค้นที่ทําให้ดินเกิดการวิบัติจะเรียกว่า “กําลังรับน้ําหนักบรรทุกประลัย ของฐานราก (Ultimate Bearing Capacity of Foundation, qu)” โดยลักษณะแนวการวิบัติของดิน จะเริ่มจากด้านล่างใต้ฐานรากขยายขึ้นมาบนผิวดินดังแสดงในรูปที่ 2.1ข ซึ่งการวิบัติแบบนี้เรียกว่า “การวิบัติด้วยแรงเฉือนทั่วไป (General Shear Failure)”
ก. ความเค้นที่กระทํา-การทรุดตัว ข. ลักษณะการวิบัติ รูปที่ 2.1 ฐานรากตั้งอยู่บนชั้นทรายแน่นหรือดินเหนียวแข็ง
46