Page 56 - Demo
P. 56

กรณีที่ 2: ฐานรากวางอยู่บนชั้นดินทรายที่มีความแน่นปานกลางหรือดินเหนียวที่มีความแข็งแรงปาน กลาง เมื่อความเค้นที่กระทําเพิ่มขึ้นจนมีค่าเท่ากับ qu(1) ดังแสดงในรูปที่ 2.2ก การวิบัติของดินจะมี ลักษณะค่อยๆ ขยายออกไปจากใต้ฐานราก ดังแสดงเป็นเส้นทึบในรูปที่ 2.2ข การเคลื่อนที่ของฐานราก จะเกิดการแบบทรุดตัวแบบรวดเร็ว และเมื่อความเค้นที่กระทํามีค่ามากกว่า qu(1) การทรุดตัวของฐาน รากนี้ทําให้แนววิบัติของดินขยายขึ้นไปดินผิวดิน (ดังแสดงเป็นเส้นประในรูปที่ 2.2ข) ความเค้นที่จุดนี้ จะเรียกว่า “กําลังรับน้ําหนักบรรทุกประลัยของฐานราก (Ultimate Bearing Capacity of Foundation, qu)” การเพิ่มขึ้นของความเค้นที่กระทําหลังจากจุด qu จะทําให้ฐานรากเกิดการทรุดตัวเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งค่า qu(1) คือความเค้นที่จุดวิบัติครั้งแรก (Vesic 1963) กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นที่กระทํา กับการทรุดตัวจะไปพบค่าความเค้นสูงสุด ลักษณะวิบัติเช่นนี้เรียกว่า “การวิบัติด้วยแรงเฉือนเฉพาะที่ (Local Shear Failure)”
ก. ความเค้นที่กระทํา-การทรุดตัว ข. ลักษณะการวิบัติ
รูปที่ 2.2 ฐานรากวางอยู่บนชั้นดินทรายที่มีความแน่นปานกลางหรือดินเหนียวที่มีความแข็งแรงปานกลาง
กรณีที่ 3: ฐานรากวางอยู่บนชั้นดินทรายที่หลวมหรือดินเหนียวอ่อน กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความ เค้นที่กระทํากับการทรุดตัว ดังแสดงในรูปที่ 2.3ก จะไม่พบค่าความเค้นสูงสุด ในกรณีนี้แนวการวิบัติจะ ไม่ปรากฏบริเวณผิวดิน ดังแสดงในรูปที่ 2.3ข แต่เมื่อความเค้นที่กระทํามีค่ามากกว่า กําลังรับน้ําหนัก บรรทุกประลัยของฐานราก (qu) กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นที่กระทํากับการทรุดตัวมีความชัน และเส้นกราฟมีลักษณะเป็นเส้นตรง ลักษณะวิบัติเช่นนี้เรียกว่า “การวิบัติด้วยแรงเฉือนทะลุ (Punching Shear Failure)”
      47
 





























































































   54   55   56   57   58