Page 349 - เอกสารฝนหลวง
P. 349
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
ที่ได้กระทําไปแล้ว จะเกิดปรากฏการณ์และปรากฏผลอย่างไรนั้น ขอให้อยู่ในดุลยพินิจและวิจารณ์
ของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้จะพึงวิเคราะห์ในแง่วิชาการอย่างเป็นธรรม
อย่างไรก็ดีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาการทําฝนเทียมยังจําเป็นจะต้องดําเนินต่อไป เพื่อหาลู่ทาง
ให้พบกรรมวิธีที่ได้ผลก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป จากประสบการณ์ที่ผ่านมา 4 ปี ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า
วิทยาศาสตร์จะช่วยธรรมชาติทําให้เกิดฝนตกได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะจะช่วยแก้ไขปัญหาแห้งแล้ง
ในช่วงฤดูเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์
ปฏิบัติการฝนเทียมเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
วันที่ 15 – 29 พฤศจิกายน 2515
คํานํา
ตามมติของคณะกรรมการดําเนินการฝนเทียม กําหนดให้คณะปฏิบัติการฝนเทียม
ทําการค้นคว้าและพัฒนาการทําฝนเทียม โดยให้ปฏิบัติการที่เขื่อนภูมิพล ระหว่างวันที่ 22 – 24 และ
ที่เขื่อนอุบลรัตน์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 ของทุกเดือนสนองพระราชประสงค์อยู่แล้วประการหนึ่ง และ
เป็นความประสงค์ของ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาการเกษตรและคมนาคมใน
ขณะนั้น ที่พิจารณาเห็นว่าควรให้มีการหาลู่ทางเพิ่มปริมาณนํ้าในอ่างเก็บนํ้าเขื่อนภูมิพลให้มากขึ้น
เพราะปริมาณและระดับนํ้าในอ่างน้อยผิดปกติ เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งในปี 2515 นี้ เพื่อให้เขื่อน
ภูมิพลสามารถปล่อยนํ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูกในภาคกลาง อาทิ
เช่น หล่อเลี้ยงสวนผัก และผลไม้ ในแถบจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และนครหลวงกรุงเทพฯ
ธนบุรี เป็นต้น ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ปรีดา กรรณสูตร จึงสั่งการให้คณะปฏิบัติการ
ดําเนินการสนองพระราชประสงค์และตามบัญชาของผู้อํานวยการฝ่ายฯ ซึ่งได้ให้ข้อคิดเห็นว่าควรจะ
ปฏิบัติการในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กําลังเปลี่ยนฤดูกาล และสภาพดินฟ้าอากาศยังพอ
อํานวยอยู่บ้าง ปฏิบัติการฝนเทียมครั้งนี้ควบคุมบัญชาการโดย ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
ข้อมูลเกี่ยวกับฝนและสภาพดินฟ้าอากาศในช่วงเวลาเดือนพฤศจิกายน
ปฏิบัติการฝนเทียมครั้งนี้อยู่ในช่วงเวลาที่ฝนเริ่มทิ้ง ตามสถิติของกรมอุตุนิยมวิทยา สําหรับ
เดือนพฤศจิกายน ในภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่จังหวัดแพร่ขึ้นไปจนถึงจังหวัดเชียงราย มีวันฝนตก
เฉลี่ย 2.8 วัน จํานวนนํ้าฝนเฉลี่ย 21.1 มม. และในภาคเหนือตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์
ลงมาถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ มีวันฝนตกเฉลี่ย 2.2 วัน จํานวนนํ้าฝนเฉลี่ย 29.6 มม.
302