Page 3 - ประวัติวัดพระธาตุพนม
P. 3
ศิลปะสถาปัตยกรรม พระธาตุพนม
องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาโดยล าดับ ซึ่งจะได้น ามาเขียนไว้โดยสังเขปดังนี้
๑. การบูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕
องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิม
ให้สูง ขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลง
แล้ว ) แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งท าการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไป
ประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์
( เวลานี้พบแล้ว อยู่สูงจากระดับพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร )
๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูร
เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างก าแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตู และเจดีย์
หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์ ( ถูกพระธาตุหักพังทับยับเยินหมดแล้ว )
๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็น
ประธาน การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งท าการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ ให้สูงขึ้นอีก
ประมาณ ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบส าริดครอบเจดีย์ศิลาอัน
เป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้ อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต
และอัญมณีอันมีค่าต่าง ๆ ไว้ภายในอูบส าริดและนอกอูบส าริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม"
(ประนม)