Page 12 - PowerPoint Presentation
P. 12
เริ่มจาก เจ้าฟ้ ามหาวชิรุณหิศสิ้นพระชนม์ ร.๕ ทรงสถาปนาพระนางเจ้าเสาวภาฯ เป็นพระ
บรมราชินี นั่นหมายความว่า พระยศของพระนางเจ้าเสาวภาฯ (สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ)
สูงกว่าพระนางเจ้าศรีสวรินทิราฯอยู่ขั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงเป็นการสืบสันตติวงศ์ในสาย
ของสมเด็จพระศรีพัชรินฯเรื่อยมา จนกระทั่งหมดเมื่อ ร.๗ ทรงสละราชสมบัติ สายสันตติ
วงศ์จึงหวนกลับมาที่สายของพระนางเจ้าศรีสวรินทิราฯอีกครั้งหนึ่ง (ซึ่งเป็นสายที่ใหญ่
อันดับสองรองจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ) และเมื่อขณะนั้น พระเจ้าลูกยาเธอในพระนาง
เจ้าศรีสวรินทิราก็สิ้นพระชนม์หมดแล้ว เหลือแต่เพียงพระเจ้าหลานเธอ ซึ่งเจ้าฟ้ าอานันท
มหิดล ทรงเป็นพระเจ้าหลานเธอองค์ใหญ่ ทําให้ได้สืบราชสมบัติสืบไป ... ส่วนที่ว่าทําไม
ไม่ให้พระราชโอรสบุญธรรมของร.๗ สืบราชสมบัติต่อ ก็เนื่องจากไม่ใช่สายพระโลหิตแท้ๆ
ถ้าให้เจ้าฟ้ าอานันทมหิดลซึ่งสืบสายมาโดยตรง จะเหมาะสมกว่า และอีกอย่างคือ ผมคิดว่า
รัฐบาลจอมพลป.และเหล่าคณะราษฎร ก็คงอยากให้เจ้าฟ้ าอานันทมหิดลขึ้นสืบราชสมบัติ
มากกว่าพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต เพราะเจ้าฟ้ าอานันทมหิดลทรงพระเยาว์อยู่ จะทําให้
การควบคุมระบบราชการทําได้ง่ายกว่า (สังเกตได้จากเหล่าคณะผู้สําเร็จราชการแทน
พระองค์ในร.๘)
กรณี ร.๓ สู่ ร.๔ ประเด็นอยู่ที่ว่า ยุคสมัยนั้น ถ้ากษัตริย์องค์ก่อนไม่ได้แต่งตั้งวังหน้า ก็จะใช้
การลงมติของขุนนางเพื่อเลือกพระมหากษัตริย์ อย่างตอนที่ร.๒สวรรคต ขุนนางส่วนใหญ่ก็
ตัดสินใจยกกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นเป็นกษัตริย์ เพราะทรงมีความเหมาะสมมากกว่าเจ้า
ฟ้ ามงกุฎ (แม้ว่าพระยศทางพระมารดาจะตํ่ากว่าก็ตาม) เมื่อร.๓สวรรคต ไม่ได้ทรงแต่งตั้ง
พระราชินีหรือวังหน้าไว้ ทําให้เหล่าขุนนางลงมติเลือกเจ้าฟ้ ามงกุฎขึ้นครองราชสมบัติ
ด้วยการที่ใช้มติของขุนนาง ทําให้บางครั้งก็เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งภายใน เหล่าขุนนาง
แตกแยกเป็นฝักฝ่าย ร.๖ จึงทรงบัญญัติกฎมณเฑียรบาลในการสืบสันตติวงศ์ ทําให้นับแต่
สมัย ร.๖ เป็นต้นมา การสืบราชสมบัติจึงมีระเบียบแบบแผนมากขึ้น ไม่ได้ใช้การลงมติของ
ขุนนางดังแต่ก่อน
Title of the book 12