Page 40 - CPS Report 2564 new
P. 40

  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

               ❖ การส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรสู่ระดับชั้นคุณภาพการควบคุมภายใน ระดับพอใช้ขึ้นไป
               1. เป้าหมาย : (ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม และสามารถวัดความสำเร็จได้)
                                             ื่
                       ในการกำหนดเป้าหมาย เพอยกระดับชั้นของการควบคุมภายในกลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในการกำกับของกรม
                                   ิ
               ส่งเสริมสหกรณ์  ต้องพจารณาจากองค์ประกอบสภาพการในปัจจุบัน ว่ากลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่มีงบประมาณ
               ในการจัดจ้างเจ้าหน้าที่สำหรับทำบัญชี ไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่ของระหว่างผู้เก็บรักษาเงิน กับผู้จัดทำบัญชี หรือมี
               คำสั่งให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่เก็บรักษาเงิน หรือจัดทำบัญชี แต่คณะกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่

               ดังกล่าวตามคำสั่งได้ รวมทั้งคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงวัย ทำให้การขับเคลื่อนระดับชั้น
               คุณภาพการควบคุมภายใน ไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กรมฯ กำหนด ดังนั้น กรมฯ ควรกำหนดแนวทาง
               วิธีการโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อน ดังนั้น การส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง จะต้องใช้การมี
               ส่วนร่วมทั้งกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ และกลุ่มวิชาการ จะต้องร่วมคิด วิเคราะห์ วางแผน ตามแนวทางหรือคู่มือของ

                                    ื่
               กรมส่งเสริมสหกรณ์ เพอที่จะให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์มีแนวทางการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรที่ชัดเจน และ
               สามารถทำให้กลุ่มเกษตรกรบริหารงานได้ตามหลักธรรมาภิบาลการควบคุมภายในที่ดี มีความเข้มแข็ง  สามารถ
               เป็นที่พึ่งของมวลสมาชิกได้
               2. ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) :

                       ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ที่กรมฯ กำหนด เป็นการกำหนดที่มีค่า KPI ที่สูงจนเกินไป หรือเป็นระดับการ
               วัดแบบก้าวกระโดด เกินขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติ  เพราะตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) เป็นส่วนสำคัญในการ
               ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์


               3. รายละเอียดตัวชี้วัด (KPI Template) :
                       3.1 คำอธิบายตัวชี้วัด
                            ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนในแต่ระดับของการวัด และสามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลของ

               การวัดต้องสามารถเปรียบเทียบได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
                       3.2 เกณฑ์การประเมิน/การคำนวณ (ระบุวิธีการที่จะใช้ประมวลผลความสำเร็จของตัวชี้วัดที่กำหนด)
                            ในการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ควรพจารณาจากข้อมูลย้อนหลังของตัวชี้วัดว่ามีการกำหนดค่า
                                                             ิ
               เกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละระดับค่าเท่าใดและช่วงห่างเป็นเท่าใด อาจดำเนินการประเมินเป็นระดับๆ มีการ

               ประเมินความสำเร็จเช่น ไม่ผ่าน พอใช้ ปานกลาง ดี ดีมาก  เพื่อแปลงค่าเป็นคะแนนในการประเมินต่อไป
                       3.3. แหล่งข้อมูล/วิธีการจัดเก็บข้อมูล
                             แหล่งข้อมูล/วิธีการจัดเก็บข้อมูล  คือ รายงานผู้สอบบัญชีจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือรายงานที่

               สำนักงานสหกรณ์จังหวัดรายงานให้ส่วนกลาง รายงานประจำปีของกลุ่มเกษตรกร
               4. แนวทางการดำเนินงาน :
                              กรมส่งเสริมสหกรณ์  ควรจัดทำคู่มือหรือจัดประชุมผ่าน ZOOM เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริม
                                            ื่
               กลุ่มเกษตรกรเป็นการเฉพาะ เพอให้คลากรทุกคนในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดได้รับทราบถึงแนวทางการ
               ดำเนินงานที่จะสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายที่กรมกำหนดไว้ เพอให้บุคลากรได้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการ
                                                                      ื่
                       ื่
               ทำงานเพอให้เป็นไปตามความต้องการของกรมฯ ซึ่งหากผู้ปฏิบัติเกิดความรู้ ความเข้าใจดีแล้ว ย่อมปฏิบัติงานได้
               อย่างมีประสิทธิภาพ  และหน่วยงานภายในของกรมฯ ควรจะมีการบูรณาการการให้ข้อมูลหรือแนวทางการ

               ดำเนินการให้ผู้แก่ปฏิบัติ เกิดความชัดเจน  เป็นการใช้ทรัพยากรที่เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ


                    Template รายงานผลการแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564   33 | ห น้ า

                    ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562ร
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45