Page 15 - somjate010
P. 15

14


                       5. ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจใน

               บทเรียนดีขึ้น ใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของ

               สิ่งต่างๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่างๆ ใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่

               หรือของภูมิภาค อันจะน าไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของพื้นที่

                       6. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจ าเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะท าให้รู้จักสถานที่

               ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทางหรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม


                       ชนิดของแผนที่ แบ่งตามการใช้งานได้ 3 ชนิด ได้แก่


                       1. แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่แสดงความสูงต่ าของพื้นผิวโลก โดยใช้เส้นชั้นความสูงบอกค่าความสูง

               จากระดับน้ าทะเลปานกลาง แผนที่ชนิดนี้เป็นพื้นฐานที่จะน าไปท าข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับแผนที่

                       2. แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ แผนที่ รัฐกิจแสดง

               เขตการปกครองหรืออาณาเขต แผนที่แสดงอุณหภูมิของอากาศ แผนที่แสดงปริมาณน้ าฝน แผนที่แสดงการ

               กระจายตัวของประชากร แผนที่เศรษฐกิจ แผนที่ประวัติศาสตร์ เป็นต้น


                       3. เป็นแผนที่ที่รวบรวมเรื่องต่าง ๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางด้าน

               ประชากร และอื่นๆ ไว้ในเล่มเดียวกัน


                       องค์ประกอบของแผนที่มีหลายองค์ประกอบ คือ

                       1. สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ตามที่ต้องการแสดงไว้ในแผนที่ เพื่อให้เข้าใจแผนที่ได้

               ง่ายขึ้น เช่น จุด วงกลม เส้น ฯลฯ


                       2. มาตราส่วน คือ อัตราส่วนระยะห่างในแผนที่กับระยะห่างในภูมิประเทศจริง


                       3. ระบบอ้างอิงในแผนที่ ได้แก่ เส้นขนานละติจูด และเส้นลองจิจูด (เมริเดียน)


                       เส้นละติจูด เป็นเส้นสมมติที่ลากไปรอบโลกตามแนวนอนหรือแนวทิศตะวันออก ตะวันตก แต่ละเส้น

               ห่างกัน 1 องศา โดยมีเส้น 0 องศา (เส้นศูนย์สูตร) แบ่งกึ่งกลางโลก เส้นที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร เรียกเส้นองศา
               เหนือ เส้นที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร เรียกเส้นองศาใต้ ละติจูดมีทั้งหมด 180 เส้น


                       เส้นลองจิจูด เป็นเส้นสมมติที่ลากไปรอบโลกในแนวตั้งจากขั้วโลกเหนือไปยัง ขั้วโลกใต้ แต่ละเส้นห่าง

               กัน 1 องศา ก าหนดให้เส้นที่ลากผ่านต าบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเส้น 0 องศา (เมริเดียน

               ปฐม) ถ้านับจากเส้นเมริเดียนปฐม ไปทางตะวันออก เรียกเส้นองศาตะวันออก ถ้านับไปทางตะวันตกเรียกเส้น

               องศาตะวันตก ลองจิจูด มีทั้งหมด 360 เส้น
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20