Page 41 - somjate010
P. 41
40
4. เกาะและหมู่เกาะ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ละติจูด 41 องศา
ใต้ ลงไปจนถึงปลายสุดแหลมฮอร์นมีเกาะและหมู่เกาะจ านวนมาก เรียกว่าเกาะโชโนส เป็นกลุ่มเกาะใน
มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ของประเทศชิลีและกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก
ภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติของทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะภูมิอากาศ
ทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ส่วนมากอยู่ในเขตร้อน โดยเฉพาะทางตอนเหนือของทวีป จะมีลักษณะอากาศ
แบบมรสุมเขตร้อนจนถึงแบบอบอุ่น ส่วนในทางใต้จะได้รับอิทธิพลจากขั้วโลกใต้ ท าให้มีอากาศหนาวเย็น
สามารถแบ่งภูมิอากาศตามแบบเคิปเปนได้ดังนี้
เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือฝนตกชุกเขตร้อน (Af) และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มี
ฝนตกชุกมากทั้งปี เช่น พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกและตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ตอนเหนือและชายฝั่ง
ตะวันออกของประเทศบราซิล เป็นต้น
เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) เป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ได้แก่ พื้นที่ส่วน
ใหญ่ของประเทศบราซิลและทางทิศตะวันตกของประเทศเอกวาดอร์
เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร
ต่อปี เช่น พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลาที่ติดกับทะเลแคริบเบียน เป็นต้น
เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตหนาว (BWk) เป็นเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายแต่มีอากาศหนาว
เย็น ได้แก่ พื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอนดีส ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศเปรูและชิลี
เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าสเตปป์ (BSh) เป็นเขตภูมมิอากาศแบบแห้ง
แล้ง ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยในรอบปี 380-760 มิลลิเมตร ได้แก่ พื้นที่ทางเหนือสุดของทวีปในประเทศโคลอมเบีย
และทางตอนกลางของอาร์เจนตินา
เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) เป็นเขตที่มีฝนตกชุก เนื้องจากชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก มี
กระแสน้ าอุ่นบราซิลไหลเลียบชายฝั่งลงมาทางทิศใต้ เช่น บริเวณประเทศอาร์เจนตินาและอุรุกวัยที่ติดกับ
มหาสมุทรแอตแลนติก
เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cfb) มีฤดูหนาวยาวนาน ได้แก่ พื้นที่ด้าน
ตะวันตกของประเทศชิลีและปลายแหลมของทวีป