Page 51 - somjate010
P. 51

50


               บ ารุงรักษาดิน การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และสารเคมีในการ ก าจัดวัชพืชและแมลง ผลกระทบจากการท าเหมือง

               สภาพพื้นดินจึงเสื่อมโทรม ส่งผลให้ผลผลิต ต่อไร่ต่ํา เมื่อความต้องการพืชผลทางการเกษตรเพื่อการค้ามากขึ้น

               ท าให้มีการลักลอบบุกเบิกพื้นที่ ป่าหลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ าแอมะซอน

                                  2.ภัยธรรมชาติ ด้วยลักษณะทางธรณีวิทยาที่อยู่ในเขตหินใหม่ แผ่นเปลือกโลกบ้าง มี

               การเคลื่อนตัวอยู่บ่อยครั้ง ท่าให้ทวีปอเมริกาใต้เผชิญกับภัยธรรมชาติในหลายรูปแบบ ทั้งจากแผ่นดินไหว ภูเขา

               ไฟปะทุ รวมทั้งผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ท าให้ ประสบทั้งอุทกภัย แผ่นดินถล่ม

               ภัยแล้ง ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติได้สร้างความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากร ท าให้เกิด

               ปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ได้แก่


                                  แผ่นดินไหว ประเทศต่าง ๆ ในทวีป อเมริกาใต้มักประสบกับภัยแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง
               ทั้งประเทศเอกวาดอร์ เปรู และอาร์เจนตินาแต่ที่ประสบภัยมากที่สุด คือ ประเทศชิลี ซึ่งเหตุ แผ่นดินไหวที่

               ประเทศชิลีเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๑๐


                                  อุทกภัยและโคลนถล่ม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท าให้เกิดฝนตกหนัก พื้นที่

               ของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ประสบกับอุทกภัยบ่อยครั้งและด้วยเหตุที่พื้นที่เป็นเขา เนินเขา ที่สูง เมื่อ

               ฝนตกหนักจึงมีดินหรือโคลนถล่มตามมา ซึ่งประเทศที่ประสบภัยมากที่สุด คือ ประเทศบราซิล จากข้อมูลนับ

               จาก ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา ได้เกิดอุทกภัยและดินโคลนถล่มหลาย ครั้งในประเทศบราซิล โบลิเวีย
               อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา และโคลอมเบีย เช่น เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. ๒๐๑๐ ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่

               ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโคลอมเบีย ท าให้ประชากร ประมาณ ๑.๕ ล้านคน ได้รับความเดือดร้อน มีผู้เสียชีวิต

               จากโคลนถล่ม ๑๗๔ ราย เดือนมกราคม ค.ศ. ๒๐๑๑ เกิดอุทกภัยและโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ด้านตะวันออก

               ของเมืองรีดูดีจาเนรู ท าให้มี ผู้เสียชีวิตและสูญหายมากกว่า ๑,๒๐๐ ราย ประชากรกว่า ๒ ล้านคนได้รับความ

               เดือดร้อน เป็นต้น


                                  ภัยแล้ง ทวีปอเมริกาใต้ประสบภัยแล้งและไฟป่าอย่างรุนแรงเป็นประจ าทุกปี ซึ่ง นับ
               จาก ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา ภัยแล้งมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่ที่ประสบความเสียหาย ครอบคลุมเป็น

               บริเวณกว้างตั้งแต่ประเทศอาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย ไปจนถึงเวเนซุเอลาและค่อนข้างวิกฤตในประเทศ

               โบลิเวีย (ประสบภัยรุนแรงที่สุดในรอบ ๓๐ ปี) กายอานา ซูรินาเม และเปรู ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจาก

               ปรากฏการณ์ลานีญา ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นท าให้ผลผลิต ทางการเกษตรรวมถึงปศุสัตว์ในทวีปอเมริกาใต้

               เสียหายอย่างหนัก
   46   47   48   49   50   51   52   53