Page 58 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 58
578
ตอนนี้ไม่คิดอะไร คือสังเกตแค่อาการของจิตในลักษณะอย่างนั้น..นั่นอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งตามหลัก ของวิปัสสนา ให้พิจารณาความคิดที่เกิดขึ้นมานั้นเกิดดับอย่างไร... คิดดีไม่ดีอย่างหนึ่ง เกิดดับอย่างไรอีก อย่างหนึ่ง แล้วก็ดูสภาพจิต
ลักษณะของสภาพจิตใจ อย่างที่บอกแล้ว รู้สึกว่ามีความสงบ มีความผ่องใส มีความเบิกบาน มี ความตั้งมั่น หรือเฉย ๆ นิ่ง ๆ ว่าง ๆ โล่ง ๆ นี่เรารู้สึกได้ทันที และสภาพจิตตรงนี้เขามีการเปลี่ยนแปลง อีกอย่างหนึ่งคือตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้อารมณ์ รู้ความคิด รู้ว่าว่าง รู้สว่าง รู้สงบ ตัวรู้ตรงนี้หรือตัวจิตที่ทาหน้าที่ รู้ที่เรียกว่าวิญญาณรู้ ก็ต้องสังเกตควบคู่กันไป ตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้มีการเกิดดับไปพร้อมกับอารมณ์ที่กาลัง แสดงอาการเกิดดับอยู่หรือไม่ นี่คือเราจะเห็นว่าเราไม่มีอะไรเป็นตัวหลักสาคัญที่บอกว่าเป็นเราเลย ต้อง พิจารณาว่าแม้แต่จิตที่บอกว่าเป็นเราที่ทาหน้าที่รู้เขาเกิดแล้วดับหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าดูแต่อารมณ์ภายนอก เกิดดับ แม้แต่ตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้ รู้แล้วเกิดดับไปด้วยหรือเปล่า
คาว่าสภาวธรรมที่เสมอกันทั้งหมดทั้งปวง สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายทั้งปวงเปลี่ยนแปลงเป็นทุกข์ ก็ตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ทั้งหมด ไม่มีข้อยกเว้น นี่คือ ความเท่าเทียมกัน ความไม่ลาเอียง ถ้าเราเป็นกลาง ไม่ลาเอียง ก็ต้องพิจารณาว่าอารมณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์แบบเดียวกัน ไม่มีอะไรเป็นอมตะ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษที่ไม่ดับเลย แต่ในขณะ เดียวกัน ยิ่งเห็นอาการเกิดดับตรงนี้ ยิ่งเห็นความจริงมากเท่าไหร่ จิตยิ่งผ่อนคลาย ที่ให้สังเกตว่าเมื่อให้ จิตเราว่าง กว้างเท่าท้องฟ้า โล่งไปหมด ไม่มีเรา แล้วถามดูว่า ตัวเราอยู่ตรงไหน ใหญ่แค่ไหน ? จักรวาล อันกว้างใหญ่ไกลโพ้น เราเหลือเป็นแค่ธุลีดิน นี่คือสภาวธรรมจริง ๆ ที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น เรามีเป้าหมายเพื่อการดับทุกข์ ลองพิจารณาดูว่า สภาวธรรมที่เข้ามากระทบทาง ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจแล้วทาให้เราทุกข์ ทาอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์ ? เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกให้หมด! พระพุทธเจ้าบอกว่าเป็นอนัตตา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ความรู้สึกว่าเป็นเราอยู่ตรงไหนเอาออกไปให้หมด เหลือแต่สติ-สมาธิ-ปัญญา เหลือแต่สภาพจิตที่ว่าง สงบ และผ่องใส นั่นแหละเราอยู่กับรสแห่งธรรม อยู่ กับธรรมะ ตรงนี้คือการเอาธรรมะเป็นที่ตั้ง การเอาธรรมะเป็นที่ตั้ง ก็คือการให้อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา เปน็ ธรรมะหรอื เปน็ สภาวธรรม อะไรเกดิ ขนึ้ มากเ็ ปน็ สภาวธรรมทจี่ ะเปลยี่ นไปตามเหตปุ จั จยั นคี่ อื แนวทาง หรือหลักในการพิจารณาสภาวธรรมในการเจริญวิปัสสนา
เดยี๋ วอาจารยจ์ ะไมใ่ ชเ้ สยี ง ใหเ้ รากา หนดพจิ ารณาดว้ ยความตงั้ ใจ สภาวธรรมทปี่ รากฏอยเู่ ฉพาะหนา้ เปน็ ไปอยา่ งไร จนกวา่ จะเหน็ สมควรแกเ่ วลา นา่ จะใชเ้ วลาประมาณสกั ๒๐ นาที จากนนั้ คอ่ ยแผเ่ มตตากนั ... สมควรแก่เวลานะ เดี๋ยวเราจะแผ่เมตตากัน... ก่อนจะแผ่เมตตาทุกครั้ง ขอให้เราได้น้อมถึงบุญกุศลที่เรา ได้ทา น้อมระลึกนึกถึงความดีที่เราเคยทา น้อมเข้ามาใส่ใจของเราให้เต็ม ให้ใจเราเต็มไปด้วยพลังแห่งบุญ เต็มไปด้วยพลังของความดี ไม่ว่าจะเป็นบุญเป็นความดีที่ทามาในอดีตหรือกาลังทาอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ก็ตาม น้อมเข้ามาใส่ใจของเราให้เต็ม เต็มทั้งตัว ให้ล้นจากตัวให้กว้างออกไป ให้เต็มทั้งศาลา จนรู้สึกว่าจิตเราเต็ม ไปด้วยพลังของความดี เมื่อรู้สึกว่าจิตเต็มไปด้วยพลังของความดีแล้ว ขอให้ตั้งจิตอธิษฐานให้กับตนเอง...