Page 271 - พระอาจารย์เทศน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา
P. 271

แล้วโล่งไป... หรือยิ่งเห็นอาการเกิดดับ จิตยิ่งผ่องใสขึ้น ยิ่งสว่างขึ้น ยิ่ง ตื่นตัวขึ้น ยิ่งตั้งมั่นขึ้น... นั่นเราจะรู้สึกได้ทันทีว่าการใส่ใจต่ออาการ พระไตรลักษณ์ อาการเกิดดับของรูปนาม มีผลต่อสภาพจิตใจเราอย่างไร
จริง ๆ แล้วสภาพจิตใจที่กาลังปรากฏ ณ ขณะนั้นทันที นั่นคือ คาตอบ สภาพจิตที่กาลังปรากฏขณะนั้นคืออะไร ? มีความสงบ ทาให้จิต สงบ ทาให้สติดีมีความตื่นตัว ทาให้สมาธิมีความตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วเป็น อย่างไร ? จิตที่มีความตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ที่เข้ามากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยิ่งจิตมีความตั้งมั่นมากเท่าไหร่ สติยิ่งแก่กล้า ยิ่งเห็นชัดถึงสัจธรรมที่กาลังปรากฏ อนิจจลักขณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักขณะ หรือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้นยิ่งปรากฏชัดแจ่ม แจ้งแก่ผู้ที่ใส่ใจพิจารณาสภาวธรรมอยู่
เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นสภาวธรรมอาการของรูปนามที่กาลังเป็นไป ตามเหตุตามปัจจัยอยู่ รูปที่นั่งอยู่ไม่ใช่ของเรา จิตที่ทาหน้าที่รู้ไม่ได้บอก ว่าเป็นเรา แล้วลองพิจารณาดูว่า ขณะนั้นจิตมีการแบก มีการยึด มีการ หลงในอารมณ์ไหนบ้าง จิตยังยึดอะไรอยู่หรือเปล่า หรือไม่มีการยึด มีแต่ การปล่อยวาง มีแต่การคลาย ทาให้จิตใจมีความเบา มีความสว่าง มีความ ผ่องใสเกิดขึ้น นั่นเป็นสภาวธรรมที่ประกาศตนเองว่า การพิจารณาถึง อาการพระไตรลกั ษณ์ การละความเปน็ ตวั ตน การละอตั ตาออกไปนนั้ มกั จะทาให้บุคคลนั้นไม่ทุกข์ จิตมีความผ่อนคลาย มีความอิสระในตัวเอง
เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นอย่างนั้น จิตก็จะมีความสงบ มีความว่าง มี ความเบา มีความอิสระ ตามกาลังของสติ สมาธิ ปัญญาของตนของตน เพราะฉะนั้น การพิจารณาสภาวธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ถามว่า ขณะที่เห็นแบบนี้เราเห็นอะไร เห็นสัจธรรมไหม เห็นอริยสัจสี่ไหม เห็น
267


































































































   269   270   271   272   273