Page 38 - พระอาจารย์เทศน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา
P. 38
34
หลังจากที่พระองค์ทรงเสวยอาหารแล้ว การบิณฑบาตเกิดขึ้นไป ตามปกติ เพื่อการเลี้ยงกายนี้ให้อยู่ได้ ไม่ให้ลาบากจนเกินไป เวลาเราหิว มาก ๆ คิดอะไรไม่ออก อย่างวันก่อนที่เล่าให้ฟังว่า อดอาหาร ๑๕ วันนี่ ตัวเบาหวิว สมองก็เบาด้วย คิดอะไรไม่ออก ได้แต่นั่งเฉย ๆ ว่าง ๆ ยิ้ม... ถามว่า มีกิเลสไหม ? ไม่รู้ มี-ไม่มีเหมือนกับไม่แน่ใจ มันไม่ชัดเจนอะไร สักอย่างหนึ่ง อันนี้คนอื่นเขาอาจจะชัดเจนของเขาก็ได้นะ แต่เรารู้สึกว่า การที่เราทรมานตนเพื่อความหลุดพ้น ที่สุดแล้วเราก็ยังไม่รู้อะไรอยู่ดี สภาพจิตยัง “เป็นเรา” เหมือนเดิม ยังมีเราตลอดเวลา มีเราอยู่เรื่อย ๆ แต่ เป็นความเป็นเราที่ไม่ค่อยมีกาลังทาอะไรแค่นั้นเอง เพราะฉะนั้น การ ทรมานตนมาก ๆ ก็ไม่ดี
ตรงนี้ที่บอกว่าทางสายกลาง ทางสายกลาง... จริง ๆ แล้วก็คือ เจตนาของเรา การดาเนินชีวิตอยู่ทุกวันนี้ มีเจตนาที่เราจะเดินทางไปใน สิ่งที่ดี ทาความดี มีสิ่งที่เกื้อกูล เขาเรียกว่ามีปัจจัยเกื้อกูลให้เรามีความ ไม่ทุกข์ ไม่ถูกเบียดเบียน อย่างเช่น เราไม่มีอะไรเลย ก็มัวแต่กังวล มัวแสวงหาเพื่อให้มี ไม่มีเวลาปฏิบัติอีก แต่พอเรามีคน พอมีกาลังบ้าง ก็ จะมีเวลาขึ้นมาได้ปฏิบัติธรรม ก็จะเกื้อกูลกันอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ลองพิจารณาดู การปฏิบัติของเรานี่สบาย เขาเรียก “ปฏิบัติแบบสัปปายะ” คาว่า “สัปปายะ” สถานที่สัปปายะ ธัมมสัปปายะ บุคคลสัปปายะ อาหารสัปปายะ
ที่สัปปายะ บุคคลสัปปายะ อาหารสัปปายะนี่ บางครั้งขาดแคลน บ้าง ไม่เป็นไร แต่ธัมมสัปปายะเป็นเรื่องยากมาก หาได้ยากที่สุดก็คือ ธัมมสัปปายะ ธรรมะสบาย ปฏิบัติสบาย เข้าถึงได้ง่าย ตรงนี้แหละ เพราะ ฉะนั้น เรายอมเสียสละ บางครั้งสัปปายะทั้งสามอย่างนี่ไม่สัปปายะเท่าที่