Page 249 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 249

231
ส่วนกันระหว่างความคิดกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เมื่อความคิดกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ แยกจากกัน แล้วเราดูอะไรต่อ ? เรามารู้จิตที่ทาหน้าที่รู้ว่าคิด เมื่อมารู้จิตที่ ทาหน้าที่รู้ว่าคิด ผลตามมาจะเป็นอย่างไร ?
เมอื่ ไหรท่ แี่ ยกอยา่ งนี้ จติ ทที่ า หนา้ ทรี่ จู้ ะมกี า ลงั มากขนึ้ จติ ทที่ า หนา้ ทรี่ ู้ มีกาลังมากขึ้น หมายถึงสติเรามีกาลังมากขึ้น เมื่อสติมีกาลังมากขึ้น จิต ตั้งมั่นขึ้น ความคิดก็จะเริ่มมีกาลังน้อยลง เขาจะจัดระเบียบของเขาเอง แล้ว ความคิดก็จะลดลง เบาลง น้อยลง ยิ่งจิตของเรากว้างกว่าความคิดเท่าไหร่ ยิ่งนิ่งมากขึ้น มากขึ้น ความคิดก็จะหมดไปเองโดยที่ไม่ต้องอาศัยความอยาก แต่ทาเหตุให้ดี รู้ว่าต้องทาอย่างไร อันนี้อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ดู ว่าสภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร
อย่างนักปฏิบัติของเราหลาย ๆ คน พอปฏิบัติแล้วจิตรู้สึกว่าง โล่ง โปร่ง เบา สงบ ไม่มีอารมณ์ให้กาหนด ไม่มีอาการเกิดดับเลย ว่างสนิทเลย นั่นคือ “ว่างจากอารมณ์ในการรับรู้” แต่ก็ยังมีอยู่อย่างหนึ่งที่ให้รับรู้ นั่นคือ “จิตที่ทาหน้าที่รับรู้ความว่างเอง” ถ้าสังเกตก็จะเห็นว่ามีจิตดวงหนึ่งที่ทาหน้าที่ รู้ว่าว่าง เมื่อเป็นเช่นนั้น จะทาอย่างไรต่อ ? ให้เรานิ่ง แล้วมารู้อาการเกิดดับ ของจิตที่ทาหน้าที่รู้ว่าว่างนั่นแหละ เขารู้ว่าว่างแล้วเปลี่ยนอย่างไร ? รู้ว่าว่าง แล้วดับไปไหม ? ดับอย่างไร ? ดับไปแล้วเกิดมารู้ใหม่หรือเปล่า ? นั่นคือ สิ่งที่ต้องสังเกต
และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า จิตเราว่าง แต่มีอารมณ์ให้รับรู้ ก็คือจิตรู้สึก สงบ ว่าง เบา แต่ก็มีอาการเกิดดับของอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏอยู่ ในความว่าง อย่างเช่น ขณะที่เรานั่งว่าง ๆ จิตเราว่างและกว้างไม่มีขอบเขต แล้วได้ยินเสียงเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ทาไมถึงบอกว่า “เกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ” ? เพราะไม่ได้ปรากฏชัดอยู่ที่หู อยู่ที่ตัว อยู่ที่ใจ หรืออยู่ที่สมอง แต่อยู่ในที่ ว่าง ๆ จึงเรียกว่าเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ แล้วจิตก็จะว่าง ว่างจากอะไร ? ว่าง จากตัวตน ว่างจากการปรุงแต่ง มีแต่สติทาหน้าที่รู้ แล้วจิตก็จะรู้สึกเบา หรือ


































































































   247   248   249   250   251