Page 248 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 248
230
สภาพจิตใจเราเป็นอย่างไรเราจะรู้ได้ ยิ่งกาหนดรู้ จิตยิ่งผ่องใส ยิ่งคลายจาก อุปาทาน คลายจากการยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ต่าง ๆ ว่าเป็นตัวเรา เป็นของ เรา ยิ่งคลายมากเท่าไหร่ ลองดูว่า จิตใจของเรารู้สึกอิสระมากขึ้นเท่านั้นหรือ เปล่า ? นี่คือสิ่งที่เราต้องพิจารณา จะได้เห็นผลด้วยตัวเองทันทีว่าปฏิบัติแล้ว เป็นอย่างไร
นอกจากนั้นคือ การ “ดูจิตในจิต” บางทีเราดูแต่จิตอย่างเดียว การรู้ จิตอย่างเดียว ต้องเข้าใจว่ามีอยู่ ๓ ระดับ อย่างที่บอกก็คือว่า รู้ว่าคิดอะไร รู้ว่าสภาพจิตใจเป็นอย่างไร รู้ว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้มีอาการอย่างไร จริง ๆ แล้ว หลักการไม่ต่างกันกับการกาหนดดูกายหรือดูเวทนา เพียงแต่ว่าบางครั้งการ ที่เราดูจิตของเรา เราเห็นแต่ความคิดอย่างเดียวโดยไม่เห็นสภาพจิตตัวเอง รู้ แต่ว่าคิดดีคิดไม่ดี คิดมากคิดน้อย การที่เราจะทาอะไร “คิดให้มาก ๆ” กับ “คิดมาก” ก็ต่างกัน “คิดให้มาก ๆ” กับ “เป็นคนคิดมาก” ก็ต่างกัน คิดให้ เยอะ ๆ คือมีเหตุผลเยอะ ๆ คิดให้กว้าง ๆ ไกล ๆ ต่างกับคิดมาก คือคิด เรื่องอะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมด แล้วก็วุ่นวาย
เพราะฉะนั้น เวลาเราพิจารณาความคิดก็ใช้หลักเดียวกัน พิจารณา ดูว่าความคิดที่ปรากฏขึ้นมากับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละ ส่วน ตรงนี้เป็นการแยกนามกับนาม เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นว่าเป็นคนละส่วนกัน แล้วให้จิตมีกาลังมากกว่าเรื่องที่คิด ความมีตัวตนจะเกิดขึ้นยาก ความเป็น เราจะเกิดขึ้นยาก เมื่อความเป็นเราไม่ปรากฏ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นยาก ความ ขุ่นมัวเศร้าหมองของจิตก็เกิดขึ้นยากเช่นกัน
เพราะฉะนั้น ขณะที่เราเจริญกรรมฐาน การตามรู้อาการเกิดดับของ ความคิดที่เกิดขึ้น ให้มีความพอใจที่จะรู้ว่าเขาเกิดและดับในลักษณะอย่างไร ลองสังเกตง่าย ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความคิดเข้ามาเยอะแยะมากมาย ถึงเรา ปฏเิสธอยา่งไรกไ็มห่ายเราพยายามทาจติของเราใหส้งบด้วยการไมค่ดิไมค่ดิ ไม่คิด... นั่นก็คือ “การคิดที่จะไม่คิด” แต่ถ้าเรา “นิ่ง” แล้วกาหนดรู้ แยก