Page 246 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 246
228
เวทนาว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่เป็นอาการพระไตรลักษณ์ นั่นคือพิจารณาดู ว่าเวทนาที่ปรากฏขึ้นมานั้น ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจ เขาแสดงอาการ เปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร เรียกว่า “เวทนานุปัสสนา” ตาม รู้อาการของเวทนา รู้ว่าเวทนาที่เกิดขึ้นมานั้นเกิดดับอย่างไร
เวทนาที่เกิดขึ้นก็มีหลายแบบ แม้แต่เวทนาทางกาย อย่างที่บอกแล้ว ว่า ความปวดอาจจะเป็นก้อน เป็นแท่ง เป็นเส้น เป็นแผ่น นั่นคือลักษณะ ของเวทนาที่ปรากฏ ถ้าเรารู้ได้ด้วยก็จะเป็นสิ่งดี และเมื่อมีเวทนาเหล่านี้เกิด ขึ้น เวทนานุปัสสนา การตามรู้อาการของเวทนา รู้อย่างไร ? อย่างหนึ่งคือ รู้ว่าเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดดับอย่างไร อีก อย่างหนึ่ง เมื่อมีเวทนาทางกายขึ้นมา จิตมีเวทนาด้วยหรือไม่
ถ้าเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกขเวทนา จิตเป็นทุกข์ไปด้วยกับ เวทนาทางกายหรือไม่ ? หรือเห็นว่าเวทนาทางกายก็เป็นไปตามธรรมชาติ “จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเวทนาเป็นคนละส่วน” และจิตที่ทาหน้าที่รู้นั้นไม่เป็น ทุกขเวทนา ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมองไปกับเวทนาที่ปรากฏทางกาย กลายเป็นว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้อาจจะเป็นอุเบกขาเวทนา โสมนัสเวทนา หรือสุขเวทนา ที่เกิด ปีติยินดีที่เห็นว่า เวทนาทางกายที่ปรากฏขึ้นมาไม่สามารถบีบคั้นจิตใจของเรา ให้เกิดความเศร้าหมองได้ แสดงว่ากิเลสไม่เกิด
กิเลสคือความเศร้าหมองของจิต ความเศร้าหมองเกิดขึ้นได้อย่างไร ? เพราะมีความรู้สึกว่าเป็นเราเกิดขึ้น มีผู้เสวยอารมณ์อันนั้น จึงเกิดความทุกข์ ทางใจขึ้น เกิดความเศร้าหมองหดหู่ขึ้นมา แต่เมื่อแยกระหว่างเวทนาทางกาย กับจิตออกจากกัน จิตกลับเป็นอุเบกขาเวทนาหรือจิตผ่องใส เวทนาทางกาย ไม่สามารถบีบคั้นจิตใจได้ กิเลสไม่เกิด ถามว่า เราต้องกังวลอะไร ? ในเมื่อ เวทนาทางกายไม่สามารถบีบคั้นจิตใจของเราให้เกิดความเศร้าหมองได้ แล้ว ทาไมเราต้องปฏิเสธเวทนา ? หน้าที่ของนักปฏิบัติคือ ใช้จิตที่ผ่องใส นั่นแหละกาหนดรู้เวทนาที่ปรากฏอยู่ในที่ว่าง ๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือ