Page 101 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 101

77
อามิสบูชา ปฏิบัติบูชา
การปฏิบัติบูชา บูชาพระพุทธเจ้า... เราปฏิบัติอย่างไร ถึงจะถือว่า
เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ? หนึ่ง.. คือการปฏิบัติตามศีล ตามคาสอนของ พระพุทธเจ้า การปฏิบัติตามศีลที่เราอาราธนา ที่เราสมาทานไปเมื่อสักครู่ ฆราวาสก็ศีลห้า แล้วก็ปฏิบัติบูชา ถ้าเราปฏิบัติตามศีลห้า ไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่นเป็นต้น ด้วยกายวาจาใจ.. การไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นที่เขา ไม่ได้ให้.. ไม่ประพฤติผิดทานองคลองธรรม.. ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่ พูดคาหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ.. แล้วไม่หลงใหล หรือติดของมึนเมา ถ้าเราปฏิบัติ ตามนี้ ก็เป็นการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า
การปฏิบัติบูชาเป็นสิ่งสาคัญ และอีกระดับหนึ่งก็คือ การปฏิบัติ กรรมฐาน อย่างที่เราปฏิบัติกัน ไม่ว่าจะนั่งสมาธิ เจริญภาวนา พิจารณาดู กายดูจิตของเราว่าเป็นอย่างไร มาพัฒนาจิตใจของเรา ให้มีความผ่องใสมี ความเบิกบาน หรือให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น เพื่อความหมดจดแห่งกิเลส เพื่อพัฒนาจิตเรา ให้ความทุกข์เบาบางลง ให้กิเลสเบาบางลง ตรงนี้เป็นสิ่ง สาคัญอย่างหนึ่ง
โดยสมมติบัญญัติ หรือตามสังคมทางโลกที่เราอยู่กัน ถ้าคนเรา มีศีล มีข้อปฏิบัติ นาธรรมะ นาคาสอนของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติ เพื่อเป็น การบูชาพระพุทธเจ้า ชีวิตเราก็จะมีความสงบสุข อย่างที่สรุปศีลไว้ว่า สีเลนะ สุคะติงยันติ ศีลเป็นที่นามาซึ่งความสุข.. สีเลนะ โภคะสัมปะทา ถ้าเรามีศีล ทาให้มีโภคทรัพย์.. สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย ศีลเป็น เบื้องต้นของนิพพาน.. เพราะฉะนั้น การรักษาศีลทาให้เราสงบสุขในชิวิต ของเรา และที่สุดแล้วก็เป็นปัจจัย เป็นเหตุ หรือเป็นเบื้องต้น เป็นตัวเกื้อ หนุนให้เราสามารถปฏิบัติเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ และอีกอย่าง..ในขณะ ที่เรายังไม่เข้าถึงมรรคผลนิพพาน ชีวิตเราก็มีความสุข
การปฏิบัติบูชามีอานิสงส์มาก เพราะถ้าเราทาแบบนี้ เราจะได้รับ


































































































   99   100   101   102   103