Page 130 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 130
126
ตับ โลหะหนักซึ่งเป็นองค์ประกอบของสีที่ปรุงแต่งพอลิเมอร์ อาจ
ปนเปื้อนในอาหารเทา เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
6.2 ปัญหำในกำรก ำจัดพอลิเมอร์
การกําจัดพอลิเมอร์โดยการฝัง ไม่สามารถทําให้พอลิเมอร์ย่อย
สลายได้ภายในระเวน อันสั้น พอลิเมอร์จะใช้เวลายาวนานมากในการย่อย
สลาย ทําให้เกิดขยะสะสมมากมาย สําหรับการนําไปเผาจะต้องนําไปเผา
ในเตาเผาเฉพาะเท่านั้น เพราะการเผาพอลิเมอร์ไม่ถูกวิธีจะทําให้เกิด
สารพิษ เช่น สารประกอบคลอรีน พอลิเมอร์ที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ
เมื่อเผาจะสลายตัวให้ไฮโดรเจนคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารกัดกร่อนทําให้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทําด้วยโลหะผุกร่อนอย่างรวดเร็ว และนอกจากนั้นยัง
ทําลาย เซลล์ของร่างกาย เมื่อสัมผัสหรือสูดดม จะทําลายเยื่อบุทางเดิน
หายใจพอลิยูรีเธน เมื่อเผาจะสลายตัวได้ สารประกอบไนโตรเจน และ
เบนซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นต้น
7. กำรแก้ไขปัญหำที่เกิดจำกพอลิเมอร์
ปัจจุบันมีการใช้พอลิเมอร์ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก เป็นเหตุ
ให้ปริมาณขยะ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่พอลิเมอร์ ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลา
ในการย่อยสลายยาวนานมาก ทําใน การสะสมมากมายทั่วโลก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ประเภทที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น บรรจุภัณฑ์ ซึ่ง
ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา แม้ว่าเทคโนโลยีทางการผลิตใน
สามารถนําพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยม