Page 1 - บทคัดย่อ (OSCE) + ENG
P. 1

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบผ่านการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวช
                 กรรมขั้นตอนที่ 3 (NL3: OSCE) ของนิสิตแพทย์ โครงการผลิตแพทย์แนวใหม่เพื่อชาวชนบท

                 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่
                 ณพินปภา ภัคศุภร, พิมพ์รดา ตันติวิริยโชติการ
                 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่


                 หลักการและเหตุผล: นิสิตแพทย์ โครงการผลิตแพทย์แนวใหม่เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้น
                 คลินิก โรงพยาบาลแพร่ เป็นนิสิตแพทย์ฯ ที่ส าเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมี
                 ประสบการณ์ท างานในหน่วยงานของรัฐไม่ต่ ากว่า 2 ปี ซึ่งแต่ละบุคคลนั้นมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
                 เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจในบทเรียน และการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการสอบ การศึกษาครั้งนี้มี

                 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเรียน การเตรียมตัวสอบ และทัศนคติต่อการสอบ
                 NL3:  OSCE ของนิสิตแพทย์ฯ เพื่อค้นหาลักษณะที่เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้นิสิตแพทย์ฯ สามารถประสบ
                 ความส าเร็จในการสอบได้ด้วยดี
                 วิธีการศึกษา:  กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ คือ นิสิตแพทย์ฯ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาล

                 แพร่ ที่ส าเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 – 2561 จ านวน 72 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล
                 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ, Chi-square, Gamma, T-Test, และ Multiple Regression
                 ผลการศึกษา: พบว่า ไม่มีปัจจัยใดมีความสัมพันธ์กับการสอบผ่าน NL3: OSCE ของนิสิตแพทย์ฯ เนื่องจาก

                 นิสิตแพทย์ฯ มีคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ใกล้เคียงกัน แต่พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ จ านวนครั้งในการ
                 สอบ NL3: OSCE มีความสัมพันธ์กับ GPA อย่างมีนัยส าคัญ (   = 7.602) เป็นไปในทิศทางตรงข้ามกัน (

                 = -1.000) โดยนิสิตแพทย์ฯ ที่มี GPA มากกว่า 3.00 จะสอบผ่านในครั้งแรกทุกคน (70.8%) แต่นิสิตแพทย์ฯ
                 ที่มี GPA ต่ ากว่า 3.00 (4.2%) ต้องสอบมากกว่า 1 ครั้ง และยังมีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการเรียน

                 อย่างมีนัยส าคัญ (   = 3.987) ในทิศทางเดียวกัน ( = 0.792) นอกจากนี้ยังพบว่าค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรม

                 การเตรียมตัวสอบของนิสิตแพทย์ฯ ที่สอบผ่านในครั้งแรกแตกต่างจากนิสิตแพทย์ฯ ที่สอบมากกว่า 1 ครั้ง

                 อย่างมีนัยส าคัญ (T = 2.432)
                 อภิปรายผล: จ านวนครั้งในการสอบ NL3: OSCE มีความสัมพันธ์กับ GPA และระดับพฤติกรรมการเรียนของ
                 นิสิตแพทย์ฯ โดยเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับเวลาด้านการเรียน (   = 8.424) และความ

                 วิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน (   = 6.311) พบว่า นิสิตแพทย์ฯ มีความรับผิดชอบในงานที่หลากหลาย ปัจจัย

                 นี้จึงมีความสัมพันธ์กับจ านวนครั้งในการสอบ นอกจากนี้ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการ
                 เตรียมตัวสอบระหว่างนิสิตแพทย์ฯ ที่สอบผ่านในครั้งแรก และนิสิตแพทย์ฯ ที่สอบมากกว่า 1 ครั้ง พบว่า
                 เป็นผลมาจากความแตกต่างในการทบทวนเนื้อหาเพื่อเตรียมสอบช่วงปิดเทอมปี 5 ( = 0.235), การมุ่งท่อง

                 หนังสืออย่างหนักเมื่อช่วงใกล้สอบ ( = 0.225) และการอ่านต าราภาษาอังกฤษเป็นประจ า ( = 0.159)
                 อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยและวิธีการในการพัฒนาไปสู่การท าให้นิสิตแพทย์ฯ ทุกคน
                 สามารถสอบผ่าน NL3: OSCE ได้ตั้งแต่ครั้งแรกต่อไป

                 สรุปผล:  ไม่พบปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับการสอบผ่าน  NL3:  OSCE แต่พบว่า จ านวนครั้งในการสอบ
                 NL3:  OSCE มีความสัมพันธ์กับ  GPA, ระดับพฤติกรรมการเรียน และยังมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับ
                 พฤติกรรมการเตรียมตัวสอบของนิสิตแพทย์ฯ ศูนย์แพทยศาสตศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่
                 Take home massage: พฤติกรรมการเรียนและการเตรียมตัวสอบมีความส าคัญต่อการสอบ OSCE

                 Key words: NL3: OSCE, the exam passing, the number of times in the exam
   1   2