Page 68 - คณิตศาสตร์และสถิติเพื่องานอาชีพ
P. 68
61
4.2 ข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้
4.2.1 ข้อมูลสถิติ
ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่อาจจะอยู่ในรูปตัวเลขหรือข้อความ โดยทั่วไปข้อมูลสถิติมี
หลายจํานวนที่สามารถนํามาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงได้
ข้อมูลสถิติที่แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวม ประกอบด้วย ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary
Data) และ ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ผู้ทําการศึกษาดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
พื้นที่แหล่งข้อมูล ซึ่งอาจจะใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต หรือการทดลอง
เป็นต้น
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ทําได้ 2 วิธี คือ
(1). การสํามะโน (Census) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วย
ของสิ่งที่ต้องการ เช่น การปลูกข้าว กข. 15 ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย การ
เก็บรวบรวมข้อมูลนั้น ผู้ศึกษาจะต้องเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กข.15 ทุกคนใน
พื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยทั่วไปผู้ศึกษาจะไม่นิยมในการสํามะโน เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง
ยกเว้นกรณีที่ประชากรจะศึกษามีจํานวนไม่มากและพื้นที่ไม่กว้างขวาง
(2). การสํารวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นการสํารวจจากบางหน่วยของ
ประชากร เพื่อการลดค่าใช้จ่าย หรือบางครั้งไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ทุกหน่วยของ
ประชากร ข้อสําคัญของการสํารวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้อมูลจากตัวแทนที่ถูกเลือกมา
นั้นสามารถบรรยายลักษณะของประชากรที่จะศึกษาได้
2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่มีผู้ที่ทําการศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทํา
การคัดลอก หรือรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้ว โดยอาจอยู่ใน
รูปของสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เอกสารทางวิชาการ บทความทาง
วิชาการ งานวิจัย วารสาร รายงานประจําปี หรือ เอกสารทางราชการ เป็นต้น
ข้อมูลสถิติแบ่งตามลักษณะข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative
data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)