Page 7 - นวัตกรรมสื่อการสอน
P. 7
การฉีกขาดของส่วนต่าง ๆ รอบกระดูกหัก ท าให้มีเลือดออกโดยเฉพาะกระดูก ต้นขาที่อาจเกิดการสูญเสียเลือดได้มาก เฉลี่ย
500-1,500 ซีซี จนอาจท าให้ผู้ป่วยเกิดภาวะช็อคได้ (ไพรัชประสงค์จีน, 2552, หน้า 136) ส าหรับกระดูกหักชนิดปิดเลือดที่ออกจะเข้า
ไปอยู่ในเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักเมื่อเลือดหยุดไหลจะกลายเป็นก้อนเลือดรอบ ๆ กระดูกหัก (Fracture hematoma) เมื่อ
ร่วมกับปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกหัก ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดการกา จัดเซลล์ที่ตายแล้วและหลั่งสารไซโตไคน์
(Cytokine) กระตุ้นการสร้างหลอดเลือด (Angiogenesis) น าไปสู่การสร้างกระดูกใหม่ด้วยการเปลี่ยนก้อนเลือดให้เป็น
เนื้อเยื่อใหม่ (Granulation tissue) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกระดูกอ่อน (Callus) ในเวลาต่อมาและเข้าสู่กระบวนการปรับแต่ง
รูปร่างของกระดูกให้แข็งแรงดังเดิม (วรรณี สัตยวิวัฒน์, 2553, หน้า 89, 104-105)