Page 23 - dinosaurst
P. 23
สยำมโมซอรัส สุธีธรนี (อังกฤษ: Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอ
โรพอด ขนาดกลาง พบครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภู
เวียง อ าเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ชิ้นส่วนตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้าย
ฟันจระเข้ เป็นรูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้อยในแนวด้านหลังของฟัน บนผิว
ของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนวความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของ
ตัวฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่มีลักษณะเป็น
หยักแบบฟันเลื่อย ความยาวของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร ลักษณะฟันดังกล่าวไม่เคยมี
รายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ "สยามโม
ซอรัส สุธีธรนี"
สยำมโมไทรันนัส อิสำนเอนซิส (อังกฤษ: Siamotyrannus isanensis) เป็น
ไดโนเสาร์เทอโรพอด ล าตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภู
ประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อ าเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชา
นนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี พ.ศ. 2536 พบอยู่ในเนื้อหินทรายเนื้อแน่นหมวด
หินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ชิ้นส่วนกระดูกประกอบด้วยกระดูกสะโพก 1ชิ้น กระดูกเชิงกราน
ด้านซ้าย ที่วางตัวฝังอยู่ใต้กระดูกสันหลัง ลักษณะของกระดูกเปรียบเทียบได้กับของไดโนเสาร์วงศ์
ไทรันนอซอริดี ลักษณะไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุล
และชนิดใหม่ คือ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส ลักษณะของกระดูกพิจารณาได้ว่าเป็นของ
ไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอร์ มีลักษณะเก่าแก่โบราณมากกว่าไดโนเสาร์ในวงศ์เดียวกันที่ค้นพบจาก
แหล่งอื่นๆ มากกว่าถึงประมาณ 20 ล้านปี ท าให้สัณฐานได้ว่าไดโนเสาร์วงศ์นี้อาจมีถิ่นก าเนิดและ
วิวัฒนาการขึ้นเป็น ครั้งแรกในทวีปเอเชียแล้วแพร่กระจายพันธุ์ออกไปจนถึงอเมริกาเหนือในช่วง
ปลาย ยุคครีเทเชียส
22