Page 14 - 2475
P. 14
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) ได้มีการส่งเสริมธุรกิจด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
กิจการไฟฟูา มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ส่งเสริมด้านชลประทานและการบ ารุง
พันธุ์ข้าว จัดตั้งธนาคารออมสิน สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้เพื่อหวังผลทาง
เศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่เนื่องจากได้อุทกภัยใน พ.ศ.2460 และเกิดฝนแล้งใน
พ.ศ. 2462 ท าให้การผลิตข้าวอันเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศประสบความเสียหาย
อย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อภาวะการคลังของประเทศอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ท าให้
งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับมาโดยตลอดระหว่าง พ.ศ.2465-2468
สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468-2475) พระองค์ได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มพระสติ
ก าลังความสามารถ โดยทรงเสียสละด้วยการตัดทอนรายจ่ายในราชส านัก เพื่อเป็นตัวอย่าง
แก่หน่วยราชการต่างๆ โดยโปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ จากเดิมปีละ 9
ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้านปี พ.ศ.2469 และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีศุลกากรใหม่
หลายอย่าง ท าให้งบประมาณรายรับรายจ่ายเกิดความสมดุล พ.ศ.2472-2474 เศรษฐกิจ
โลกเริ่มตกต่ าอันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงส่งผลกระทบต่อประเทศโดยตรง
ท าให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับเป็นจ านวนมาก รัชกาลที่ 7 ได้ทรงด าเนินนโยบาย
ตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากต าแหน่งเป็นจ านวนมาก
เพื่อการประหยัด ตลอดจนจัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ย
กันดารแก่ข้าราชการ ประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองค า และก าหนดค่า
เงินตราตามเงินปอนด์สเตอร์ลิง รวมทั้งการประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะข้าราชการซึ่ง
จะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษเงินเดือน แต่ถึงแม้ว่าจะทรงด าเนินนโยบายแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจด้วยการประหยัดและตัดทอนรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มภาษีบางอย่างแล้ว แต่
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
กำรเปลี่ยนแปลงกำรปกครอง 2475 6