Page 20 - 2475
P. 20
หลัก 6 ประการ
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร หรือที่นิยมเรียกอย่างสั้นว่า หลัก 6
ประการ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1และถือเป็นนโยบายของ
คณะกรรมการราษฎรชุดแรก ในระบอบประชาธิปไตยของประเทศสยาม ซึ่งน าโดยพระ
ยามโนปกรณ์นิติธาดา คณะกรรมการราษฎรนี้ ไม่มีการแถลงนโยบาย การบริหารราชการ
แผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่ถือเอาหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร ที่ก าหนดให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใช้ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบาย
ของรัฐบาล
หลัก 6 ประการของคณะราษฎรนั้น มีแนวคิดหรืออุดมคติที่คณะราษฎรได้ประชุม
ปรึกษาหารือซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันซึ่งมีนัยส าคัญแฝงอยู่ แต่มิได้แถลงให้ประชาชนทราบ มี
ใจความส าคัญคือ ต้องมีพระเจ้าแผ่นดินตลอดไป ต้องท าเพื่อประชาธิปไตย ต้องเคารพ
ความเห็นซึ่งกันและกัน ต้องมีความเห็นอันเที่ยงตรง ต้องท าเพื่อมุ่งจรรโลงประเทศให้
ก้าวหน้า ต้องไม่ทรยศต่อประเทศชาติ ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ต้องไม่เย่อหยิ่งลืมตัว ต้อง
มีความประพฤติดี และต้องรักษาหน้าที่โดยเด็ดขาดเที่ยงตรง
หลัก 6 ประการ
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ
ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. ต้องบ ารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุก
คนท า จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าว
ข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
กำรเปลี่ยนแปลงกำรปกครอง 2475 12