Page 26 - 2475
P. 26
ผลกระทบทางด้านสังคม
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมไทยได้รับผลกระทบจาก
เปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่างๆ ตลอดจนความ
เสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่
บรรดาเจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง ซึ่งมีอ านาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอ านาจ
และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดา
เจ้านายและขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น
เนื่องจากที่คณะราษฎรมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาของราษฎรอย่างเต็มที่ ตามหลัก 6
ประการของคณะราษฎรข้อที่ 6 ดังนั้น รัฐบาลจึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลที่ตั้งอยู่ในเขต
เทศบาลที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นให้เทศบาลเหล่านั้นรับไปจัดการศึกษาเอง เท่าที่เทศบาล
เหล่านั้นจะสามารถรับโอนไปจากกระทรวงธรรมการได้ ท าให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มี
ส่วนร่วมในการท านุบ ารุงการศึกษาของบุตรหลานของตนเอง นอกจากนั้นรัฐบาลได้กระจาย
อ านาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งเทศบาลต าบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของเทศบาลเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีเทศมนตรี
เป็นผู้บริหารตามหน้าที่
พ.ศ.2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2479 โดยก าหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภท คือ สายสามัญศึกษาและสาย
อาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการเน้นความส าคัญของอาชีวศึกษาอย่างแท้จริง โดยได้ก าหนดความมุ่ง
หมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบการศึกษาในสายสามัญแตะละประโยคแต่ละระดับ
การศึกษา ได้เรียนวิชาอาชีพเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเรียนวิชาสามัญ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ใน
การที่จะออกไปประกอบอาชีพต่อไป
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 จึงได้น าไปสู่การปรับปรุงให้ราษฎรได้รับ
การศึกษา และสามารถใช้วิชาการความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ประกอบอาชีพต่อไป
อย่างมั่นคงและมีความสุข
การเปลี่ยนแปลงการปกครองท าให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าถูกลิดรอน
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น พระมหากษัตริย์จะได้รับเงินจากงบประมาณเพียงปีละ 1-2
ล้านบาท จากเดิมเคยได้ประมาณปีละ 2-10 ล้านบาท เงินปีของพระบรมวงศานุวงศ์ถูก
ลดลงตามส่วน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการโดยรับเพียงบ านาญ และเจ้านายบาง
พระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน
กำรเปลี่ยนแปลงกำรปกครอง 2475 18