Page 13 - การเปลยนแปลง2475_Neat
P. 13
สภาพการณ์โดยทั่วไปของบ้านเมือง
ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สภาพการณ์ทางสังคม
สังคมไทยก าลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบ
ตะวันตกในทุกๆ ด้าน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปแผ่นดินเข้าสู่ความทันสมัยใน
รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแส
วัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังได้ท าสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน
พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลายประเทศ และทรงเปิดรับรับ
ประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ
แก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝูา
การอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝูาพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรม
ราชาภิเษก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงด าเนินพระบรมราโชบายปลดปล่อยไพร่ให้เป็นอิสระและ
ทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไทแก่ตนเอง พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบ
ตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาถึงขั้นอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ไม่ว่าจะ
เป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาส ถ้า
บุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวันตกโดย
พระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ท าให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษา
ตามแบบตะวันตก เริ่มรับ เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความ
ปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกคราองเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากค า
กราบบังคมทูลถวายถึงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะเจ้านายและ
ข้าราชการใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) หรือการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาของ
"เทียนวรรณ” (ต.ว.ส. วัณณาโภ) ในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น และกระแส
ความคิดนี้ก็ด าเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดในหมู่ผู้น าสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศ
ตะวันตก และจากผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก
5 กำรเปลี่ยนแปลงกำรปกครอง 2475