Page 23 - 2475-change
P. 23
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475
ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่เจ้า เสด็จพระราชด าเนินจาก
พระราชวังไกลกังวล หัวหิน กลับคืนสู่พระนครแล้ว คณะราษฎรได้น าพระราชบัญญัติ
ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎรบางคน
ได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้พระราชทาน
กลับคืนมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีพิธีเปิดสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน
ประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้มีชื่อเรียกว่า "พระราชบัญญัติ
ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว”
รัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้ก าหนดว่า อ านาจสูงสุดในแผ่นดินประกอบด้วย อ านาจนิติบัญญัติ
อ านาจบริหาร และอ านาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ จึงได้เปลี่ยนเป็น
ของปวงชนชาวไทยตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับการได้มาของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ได้ก าหนดแบ่งระยะเวลาออกเป็น 3 สมัย
1) สมัยที่ 1 นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่
2 จะเข้ารับต าแหน่ง ให้คณะราษฎรซึ่งมีผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อ านาจแทน และจัดตั้ง
ผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจ านวน 70 นาย เป็นสมาชิกในสภา
2) สมัยที่ 2 ภายในเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าจะจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย สมาชิก
ในสภาจะต้องมีบุคคล 2 ประเภท ท ากิจกรรมร่วมกัน คือ ประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ผู้แทนราษฎรซึ่ง
ราษฎรได้เลือกขึ้นมาจังหวัดละ 1 นาย ต่อราษฎรจ านวน 100,000 คน ประเภทที่สอง ผู้เป็นสมาชิก
อยู่ในสมัยที่หนึ่งมีจ านวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่หนึ่ง ถ้าจ านวนเกินให้เลือกกันเองว่าผู้ใดจะยังเป็น
สมาชิกต่อไป ถ้าจ านวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่เลือกบุคคลใดๆเขาแทนจนครบ
3) สมัยที่ 3 เมื่อจ านวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็น
จ านวน กว่าครึ่ง และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภา
ผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น ส่วนสมาชิกประเภทที่สองเป็นอันสิ้นสุดลง
ผู้แทนราษฎรชั่วคราวจ านวน 70 นาย ซึ่งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร
15 กำรเปลี่ยนแปลงกำรปกครอง 2475